อบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเอง ระดับเขตสุขภาพ ระยะที่ 2 วันที่ 1 กันยายน 2565

วันที่ 1 กันยายน 2565
โรงพยาบาลบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการลดช่องว่างเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในวิธี NEW NORMAL ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี ปีงบประมาณ 2565 และทำหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ได้จัดการอบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเอง ระดับเขตสุขภาพ ระยะที่ 2 ในวันที่ 1 กันยายน 2565 ณ โรงแรมเอสทาราแกรนด์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย บุคลากรผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวชของ 6 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 60 คน เพื่อติดตามผลการอบรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการลงไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ เสริมพลังให้กับทีมงานระดับจังหวัด ให้เกิดความเข้าใจปัญหาของระบบที่เกี่ยวข้อง เห็นเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายแต่ละครั้ง รวมทั้งระบบเฝ้าระวังที่ล้มเหลวของแต่ละพื้นที่ และร่วมกันวางมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาที่มุ่งไปยังการจัดการปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยกระตุ้น สร้างปัจจัยปกป้อง รวมทั้งการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของจังหวัด ส่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงได้เป็นผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพื้นที่ โดย นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ นายแพทย์อาทิตย์ เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และ นางสาวสุริ อุปมนต์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 ให้เกียรติเป็นวิทยากร

หัวใจสำคัญของการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย
1. เน้นเสริมพลังให้กับทีมงานระดับจังหวัด ประยุกต์หลักการระบาดวิทยาและทักษะการให้การปรึกษามาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึก
2.การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด โดยใช้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
3. เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละcase แต่ละพื้นที่เพราะเหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน มาตรการป้องกันแก้ไขจึงแตกต่างกัน

Language preference

Album info