จิตเวชขอนแก่นฯ จัดการอบรมขยายผลเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จาก Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน 38 จังหวัด วันที่ 2 ธันวาคม 2565

วันนี้ ( 2 ธันวาคม 2565) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายพร้อมทั้งปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อติดตามเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19) ในการพัฒนานวัตกรรม Mobile Application “SRA” ขึ้น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจัดโครงการอบรมขยายผลเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจาก คัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน 38 จังหวัด ( รุ่นที่ 2 ) ผ่านทางระบบทางไกล ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุขจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รพศ. รพท. รพช.และ รพ.สต. ผู้สนใจ รวมจำนวน 198 คน ใน 20 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมจะมีเครื่องมือสำหรับคัดกรองและประเมินความเสี่ยงฆ่าตัวตายในรูปแบบของ Mobile Application แล้ว ข้อมูลที่ได้มาจากการใช้ Mobile Application “SRA” จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการฆ่าตัวตาย มีความครอบคลุมและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การอบรมในวันนี้ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม โดยนายแพทย์ ธุวชิต เกรียงตันติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม และทีมวิทยากรจากศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ให้การสนับสนุนเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ ณ ห้องประชุมรัตนากร โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
.
Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1.เหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย มีความยุ่งยาก ซับซ้อน แปรผันไปตามห้วงเวลา ยุคสมัย
2.การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด จะมาจากการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
3.ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องรวดเร็ว จะช่วยให้เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละcase แต่ละพื้นที่เพราะเหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน มาตรการป้องกันแก้ไขจึงแตกต่างกัน

Language preference

Album info