อบรมการใช้ Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในพื้นที่จังหวัดนำร่อง วันที่ 20 ตุลาคม 2565

จิตเวชขอนแก่นฯ จัดการอบรมการใช้ Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในพื้นที่จังหวัดนำร่อง ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ได้รับมอบหมายจากกรมสุขภาพจิต ดำเนินงานวิจัยการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายพร้อมทั้งปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อติดตามเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ จึงได้จัดโครงการอบรมการใช้Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในพื้นที่ จังหวัดนำร่อง รุ่นที่ 1 ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมอมารีดอนเมืองกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รพศ. รพท. รพช. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศ จากจังหวัดศรีสะเกษ สุโขทัย สงขลา ศูนย์สุขภาพจิตและหน่วยบริการจิตเวชพี่เลี้ยง จำนวน 48 คน เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขได้นำเครื่องมือในรูปแบบ Mobile Application for suicide and risk Assessment ประเมินอาการของผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ภาวะซึมเศร้า โรคจิต และปัญหาการใช้สารเสพติด และนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการดูแลรักษา ช่วยเหลือ และได้รับการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ไม่ฆ่าตัวตายซ้ำ รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการประเมินผลด้านประสิทธิภาพของ Application “SRA” โดย นายแพทย์จุมภฎ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด รูปแบบการอบรมประกอบด้วยการบรรยายและการฝึกปฏิบัติ โดยมี นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ศ..พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และ ดร.เพิ่มพร ลักขณาวรรณกุล ให้เกียรติเป็นวิทยากร

Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1. เหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย มีความยุ่งยาก ซับซ้อน แปรผันไปตามห้วงเวลา ยุคสมัย
2. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด โดยใช้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
3. ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละcase แต่ละพื้นที่เพราะเหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน มาตรการป้องกันแก้ไขจึงแตกต่างกัน และควรมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น

Language preference

Album info