อบรมหลักสูตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายและสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายสำหรับบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิต ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565

โรงพยาบาลบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการลดช่องว่างเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในวิธี new normal ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี ปีงบประมาณ 2565 และทำหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต ได้จัดการอบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายหรือกระทำรุนแรงต่อตนเองสำหรับบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิต ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร โดย นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยบุคลากรสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต และศูนย์สุขภาพจิต ในรูปแบบ onsite จำนวน 60 คน สำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาลและผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต และบุคลากร เข้าร่วมรับฟังผ่านระบบ Webex Meeting จำนวน 15 user รูปแบบการบรรยายและการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย ทักษะการสอบสวนโรคเรียนรู้ ทำความเข้าใจถึงหัวใจสำคัญของการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย และการทำบทบาทหน้าที่ในฐานะแม่ข่าย ระบบเขต ช่วยให้คำปรึกษา รวมทีมการสอบสวนและช่วยให้ข้อเสนอแนะของการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายให้กับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย
1. พัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด โดยใช้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
2. นำข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนโรคมาวิเคราะห์เชิงระบาดวิทยาเพื่อหาสาเหตุและปัจจัยร่วม
3. เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละ case แต่ละพื้นที่
  • 1 (1)

    1 (1)

  • 1 (230)

    1 (230)

  • 1 (3)

    1 (3)

  • 1 (2)

    1 (2)

  • 1 (4)

    1 (4)

  • 1 (6)

    1 (6)

  • 1 (5)

    1 (5)

  • 1 (8)

    1 (8)

  • 1 (10)

    1 (10)

  • 1 (12)

    1 (12)

  • 1 (11)

    1 (11)

  • 1 (13)

    1 (13)

Language preference

Album info