อบรมหลักสูตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายและการสอบสวนโรค สำหรับบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิต ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2565

โรงพยาบาลบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการลดช่องว่างเพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในวิธี new normal ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี ปีงบประมาณ 2565 และทำหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ได้จัดการอบรมหลักสูตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายและการสอบสวนโรค สำหรับบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิต ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร โดยนายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวช ขอนแก่นราชนครินทร์ ดร.แพทย์หญิงเบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต และนายแพทย์ธุวชิต เกรียงตันติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ให้เกียรติเป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยบุคลากรสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต และศูนย์สุขภาพจิต จำนวน 50 คน เพื่อติดตามผลการอบรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้ ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความมั่นใจในการสอบสวนโรค การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดทางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายให้แก่หน่วยงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย
1.พัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด โดยใช้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
2.นำข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนโรคมาวิเคราะห์เชิงระบาดวิทยาเพื่อหาสาเหตุและปัจจัยร่วม
3.เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละcase แต่ละพื้นที่
  • 1 (148)

    1 (148)

  • 1 (149)

    1 (149)

  • 1 (150)

    1 (150)

  • 1 (167)

    1 (167)

  • 1 (82)

    1 (82)

  • 1 (109)

    1 (109)

  • 1 (1)

    1 (1)

  • 1 (21)

    1 (21)

  • 1 (132)

    1 (132)

  • 1 (119)

    1 (119)

  • 1 (121)

    1 (121)

  • 1 (134)

    1 (134)

Language preference

Album info