จิตเวชขอนแก่นฯ จัดการอบรมขยายผลเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จาก Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน 38 จังหวัด วันที่ 9 ธันวาคม 2565

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับคัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายพร้อมทั้งปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อติดตามเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19) ได้พัฒนานวัตกรรม Mobile Application “SRA” ขึ้น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงจัดโครงการอบรมขยายผลเพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจาก คัดกรองและประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน 38 จังหวัด (รุ่นที่ 3) ผ่านทางระบบทางไกล ในวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมรัตนากร โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุขจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รพศ. รพท. รพช.และ รพ.สต. ผู้สนใจ รวมจำนวน 362 User ในจังหวัดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่ผ่านการอบรม มีเครื่องมือในรูปแบบของ Mobile Application สำหรับการคัดกรองและประเมินความเสี่ยงฆ่าตัวตาย ในผู้พยายามทำร้ายตนเอง ทำให้ข้อมูลที่ได้มาจากการใช้ Mobile Application “SRA” จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการฆ่าตัวตาย มีความครอบคลุมและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การอบรมในวันนี้ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เป็นประธานพิธีเปิดการอบรม โดยนายแพทย์ ธุวชิต เกรียงตันติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม และทีมวิทยากรจากศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ให้การสนับสนุนเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ
.
Application ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1.เหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย มีความยุ่งยาก ซับซ้อน แปรผันไปตามห้วงเวลา ยุคสมัย
2.การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัด จะมาจากการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และการสอบสวนโรค
3.ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องรวดเร็ว จะช่วยให้เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละcase แต่ละพื้นที่เพราะเหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน มาตรการป้องกันแก้ไขจึงแตกต่างกัน

Language preference

Album info