จิตเวชขอนแก่นฯ มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาสำเร็จและการใช้ Application SRA เขตสุขภาพที่ 6 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566

จิตเวชขอนแก่นฯ มอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาสำเร็จและการใช้ Application SRA เขตสุขภาพที่ 6

วันนี้ (3 ก.พ. 66) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบทำหน้าที่เป็นศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต ได้จัดการอบรมหลักสูตรการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตายสำเร็จและการใช้ Application SRA ระหว่างวันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมโอโซ่ นอร์ธ พัทยา จังหวัดชลบุรี โดย นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรหลักของการอบรม และได้รับการสนับสนุนคณะวิทยากรจากศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์และโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ มีผู้ผ่านการอบรมประกอบด้วยบุคลากรผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวชจาก 8 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 6 รวม 58 คน ใช้ระยะเวลาการอบรม 3 วัน รูปแบบการอบรม ประกอบการบรรยาย ความรู้เรื่องการฆ่าตัวตาย แนวทางการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย มาตรการสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการสอบสวนการฆ่าตัวตาย การจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายรายจังหวัด มุ่งหวังให้แต่ละจังหวัดมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในฐานะทีมสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย ลงไปปฏิบัติการค้นหาข้อเท็จจริงของสาเหตุการตาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาซึ่งมาตรการที่ชัดเจน สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายได้อบ่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ผ่านการอบรม ได้รับเกียรติจาก รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต นายแพทย์จุมภฏ พรมสีดา เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรม ณ ห้องประชุม โรงแรมโอโซ่ นอร์ธ พัทยา จังหวัดชลบุรี

หัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตาย
1. พัฒนาระบบรวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาในระดับจังหวัดโดยใช้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและการสอบสวนโรค
2. นำข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนโรคมาวิเคราะห์เชิงระบาดวิทยาเพื่อหาเหตุและปัจจัยร่วม
3. เลือกมาตรการควบคุมป้องกันให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละ case แต่ละพื้นที่

Language preference

Album info