ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ทรงศิริ ยุทธวิสุทธิ, จิณห์จุฑา ฤทธิ์สวัสดิ์

ชื่อเรื่อง/Title: ทักษะชีวิต พิชิตอุปสรรค

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนานักเรียน” ของสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ในวันที่ 17-21 มกราคม 2543 ทำให้ทราบถึงความสำคัญของปัญหาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน และเห็นว่าการแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องอาศัยระบบเครือข่ายทางสุขภาพจิตภาระกิจหลักในการผลิตบุคลากรพยาบาลให้แก่กระทรวงสาธารณสุข และบริการวิชาการแก่สังคม ได้เล็งเห็นปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนที่เข้ามาอยู่สถานแรกรับของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากเป็นเด็กและเยาวชนซึ่งมีปัญหาความกดดันในชีวิตและครอบครัวจนนำไปสู่การกระทำความผิด มีความวิตกกังวลและความเครียดสูงจากการต้องคดี การอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก การถูกจำกัดบริเวณ รวมถึงปัญหาการปรับตัวด้านต่าง ๆ เยาวชนกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในการฟื้นฟูสภาพจิตใจ รวมถึงการสอนทักษะชีวิต เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันปัญหาพฤติกรรมหรือการกระทำผิดต่าง ๆ ดังนั้นภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ร่วมกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดจันทบุรี จึงได้จัดทำโครงการ “ทักษะชีวิต พิชิต อุปสรรค” ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างทักษะชีวิตให้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน 2. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายทางสุขภาพจิต 3. เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มีประสบการณ์การสอนทักษะชีวิตในเด็กและเยาวชน วิธีดำเนินการ 1. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 2. กิจกรรมสอนสุขภาพจิตศึกษา และกลุ่มบำบัดเพื่อสอนทักษะชีวิตโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ซึ่งมี 5 คู่ 10 องค์ประกอบคือ 2.1 การตระหนักรู้ในตนและความเห็นใจผู้อื่น 2.2 ความภูมิใจในตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม 2.3 การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร 2.4 การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา 2.5 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด 3. การบำบัดรายบุคคลเพื่อประคับประคองจิตใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4. การทำครอบครัวบำบัด ในกรณีพบความขัดแย้งในครอบครัว 5. นักศึกษาซึ่งดูแลเด็กและเยาวชนสามารถติดตามไปศาลในการพิจารณคดีเพื่อเป็นกำลังใจเด็ก และข้อมูลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบคดี ผลที่ได้รับ 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รวมถึงมีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี กระทรวงสาธารณสุข และสถานพินิจเด็กและเยาชน จังหวัดจันทบุรี กระทรวงยุติธรรมเพื่อเป็นเครือข่ายประสานงานด้านบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาระบบงานสุขภาพจิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. นักศึกษามีประสบการณ์การทำกลุ่มเพื่อสอนทักษะชีวิต การบำบัดรายบุคคลการทำครอบครัวบำบัด การเรียนรู้ปัญหาเด็กและเยาวชนจากสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญในการดำเนินส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของกรมสุขภาพจิต สรุป จากการจัดทำโครงการ พบว่าเกิดประโยชน์ทั้งต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ในประสบการณ์การฝึกปฏิบัติวิชาสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช และนอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาระบบเครือข่ายสุขภาพจิต ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงยุติธรรมอันจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะ 1. เด็กและเยาวชนในสถานพินิจเด็กและเยาวชนจะมีการเปลี่ยนหน้าอยู่ตลอดเวลาควรจัดโครงการนี้ในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเป้าหมาย 2. ควรมีหน่วยงานด้านการบริการทางสุขภาพจิตเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น เพราะปัญหาของเด็กกลุ่มนี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก รวมถึงเป็นการพัฒนาโอกาสเติบโตมาเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป

Keywords: ทักษะชีวิต, สุขภาพจิต, ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน, เด็ก, เยาวชน, mental health, child

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี

Code: 201430006253

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -