ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ประเทือง อานันธิโก

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาภาวะเครียดและการจัดการกับความเครียดของผู้ปกครองเด็กพิการทางปัญญา จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2542

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการจัดการกับความเครียดของบิดามารดา หรือผู้ปกครองเด็กพิการทางปัญญา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับปัจจัยพื้นฐานบางประการของบิดา มารดา กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดา มารดาหรือผู้ปกครองเด็กพิการทางปัญญา (มีอายุระหว่างแรกเกิด – 12 ปี) จากบัญชีรายชื่อที่ศูนย์การศึกษาเพื่อคนพิการใช้แบบทดสอบความเครียดสวนปรุง และแบบทดสอบการจัดการกับความเครียดโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows. ผลการศึกษา พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 43.22 คะแนนซึ่งพบว่าเป็นระดับความเครียดสูง เมื่อพิจารณาจากกลุ่มของบิดาและมารดา พบว่า กลุ่มมารดามีความเครียดสูง และความเครียดรุนแรงกว่าบิดา โดยมารดา มีความเครียดสูงร้อยละ 38.3 เครียดรุนแรงร้อยละ 7 และบิดามีความเครียด ไม่แตกต่างกัน 2. ระดับความเครียดของบิดา มารดามีความสัมพันธ์กับรายได้ของครอบครัว และปัญหาพฤติกรรมการเลี้ยงดู ส่วนระดับความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับเพศของบุตร และลักษณะความพิการ 3. การจัดการกับความเครียดของบิดา มารดา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีการจัดการกับความเครียดโดยการพึ่งตนเอง พึ่งบุคคลอื่น พึ่งแหล่งบริการคู่สมรสเป็นบุคคลที่ช่วยเหลือในขณะที่มีความเครียดได้มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการจัดการกับความเครียด พบว่า มีความสัมพันธ์กันและบิดา มารดา มีการจัดการกับความเครียดไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะวิจารณ์และสรุปผล บิดา มารดาเด็กพิการทางปัญญา มีความเครียดสูง รายได้น้อย อาชีพเกษตรกร ลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้มีความยากลำบากในการดูแลเด็กพิการ หากมีแหล่งสนับสนุนทางสังคมจะทำให้เกิดความมั่นใจ สู้ชีวิตต่อไปได้ บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับควรให้ความดูแลเอาใจใส่บุคคลกลุ่มนี้ด้วย

Keywords: เครียด, ความเครียด, เด็กพิการทางปัญญา, เด็ก, การจัดการกับความเครียด, stress, copeing, child

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: สำนักวิชาการ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 201430006278

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -