ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อุบล ธนะภาศ, วรารัตน์ ว่องอภิวัฒน์กุล, ปริศนา ทวีทอง, ภูริชา ภิญโญ, ภารตี พงศ์ชินฤทธิ์, ปรีดิ์หทัย แก้วมณีรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: วิธีรักษาการเจ็บป่วยก่อนมาโรงพยาบาลจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: เอกสารการวิจัย,พ.ศ. 2530

รายละเอียด / Details:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบถึงวิธีการรักษาตนเอง ความรู้โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 202 ราย เป็นกลุ่มผู้ป่วย 128 ราย ญาติ 74 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2530 โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการรักษา เก็บข้อมูลจากผู้ป่วย และญาติที่มารับการรักษาครั้งแรก ที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ผลการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ การพรรณนาข้อมูลในรูปของตาราง ร้อยละและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานในตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลต่อการเลือกรักษาดังนี้ จากจำนวนผู้ตอบทั้งหมด 202 ราย แยกเป็นชาย 76 ชาย หญิง 126 ราย อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี มีอาชีพส่วนใหญ่ทำสวน ระดับการศึกษา ป.1 - ป.6 มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุดรายได้ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำคือ 2,001 - 3,000 บาทต่อเดือน มีสมาชิกในครอบครัว 3 - 4 คน แต่มีสมาชิกที่ทำงานได้เพียง 1 - 2 คน เท่านั้น ส่วนลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ พบว่า เป็นโรคประสาทมากกว่าโรคจิต มีระยะความเจ็บป่วยก่อนมาโรงพยาบาล ประมาณ 30 วัน และการมารับการรักษาที่โรงพยาบาลในครั้งนี้ส่วนใหญ่ตอบว่าเนื่องจากมีระดับอาการรุนแรงมาก มีสาเหตุมาจากปัญหาในครอบครัวมากที่สุด เกี่ยวกับการรักษาตัวก่อนมาโรงพยาบาลนั้น พบว่าส่วนใหญ่จะมีการรักษาก่อนแล้วถึง 164 ราย มีเพียง 38 รายเท่านั้นที่ไม่เคยรับการรักษา คือ ตรงมาโรงพยาบาลสวนสราญรมย์เลยทีเดียว พบว่าสถานที่มีการไปรักษามากที่สุดคือ โรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจมาโรงพยาบาลปรากฎว่า ส่วนใหญ่เกิดจากเพื่อนบ้านแนะนำ ผู้ตอบส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจต่อโรงพยาบาลได้ถูกต้องว่า เป็นที่รักษาผู้ป่วยทางโรคจิต โรคประสาท แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ตอบไม่ทราบวิธีการรักษาของโรงพยาบาลโดยเฉพาะการรักษาโดยจิตบำบัดหรือการรักษาโดยอาชีวบำบัด สำหรับความเห็นต่อโรงพยาบาลผู้ตอบเห็นว่า เป็นสถานที่ฝากรักษาผู้ป่วยมากกว่าเป็นสถานที่กักขัง ในประเด็นของความเข้าใจต่อคำว่า โรคจิต และคนบ้า ยังไม่แตกต่างกันมากนัก คือ ผู้ตอบคิดว่าคนบ้า และคนโรคจิตคือคนที่ไม่เหมือนกัน แสดงว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ในด้านการเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาล ส่วนใหญ่มาด้วยรถประจำทาง หรือรถรับจ้างการเดินทางสะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ค่าความแปรปรวน โดยเลือกตัวแปรที่คาดว่าจะมีผลต่อการเลือกวิธีการรักษา ได้แก่ อาชีพ การศึกษา ลักษณะอาการของโรค ระดับอาการ ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับการรักษาพยาบาล มีนัยสำคัญระดับ 2.05 พบว่า อาชีพกับการศึกษาไม่มีความแตกต่างกับวิธีการเลือกรักษา ซึ่งไม่ตรงตามสมมุติฐานที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจสรุปได้ว่าอาชีพและการศึกษาไม่มีผลโดยตรง ซึ่งอาจเป็นเพราะผลการวิจัยนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนหลายอย่าง เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล การแบ่งกลุ่มอาชีพและการศึกษา หรือการออกแบบการวิจัย ส่วนตัวแปรที่เกี่ยวกับลักษณะอาการของโรค ระดับของอาการ ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารักษา นั้นพบว่ามีความแตกต่างกับวิธีการเลือกรักษาอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 2.05 แสดงว่าตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการรักษา และตรงตามสมมุติฐานที่วางไว้

Keywords: community, psychiatry, service, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ชุมชน, บริการ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2530

Address: โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 316300000006

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: นิพนธ์ต้นฉบับ

Download: -