ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ณรงค์ สหเมธาพัฒน์

ชื่อเรื่อง/Title: การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยสถานการณ์ปัจจุบันและก้าวต่อไป : การดำเนินงานภาครัฐ.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ "สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา" วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2550 โรงแรมริชมอนด์ แคราย จ.นนทบุรี, หน้า 137.

รายละเอียด / Details:

ปัญหาของสังคมไทยที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มิได้นิ่งนอนใจในการที่จะกำหนดนโยบายและวางมาตรการในการดำเนินงานป้องกันควบคุมปัญหาอันอาจเกิดจาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นโยบายแห่งชาติ (เป้าประสงค์) ในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สร้างจิตสำนึกใหม่ให้เยาวชนของชาติ เพื่อป้องกันการริเริ่มการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชน (ลดนักดื่มหน้าใหม่) ลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยทั้งชาติ การคุ้มครองและลดผลกระทบที่เกิดจาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งในผู้ที่บริโภคแอลกอฮอล์และประชาชนทั่วไป ยุทธศาสตร์ชาติกลุ่มที่ 1 การจัดการองค์ความรู้ (ภาควิชาการ) 1.1 การรวบรวมและสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้ (Collection, Collation, Analysis, Synthesis) 1.2 การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ (Analysis & Synthesis & Interpretation) 1.3 การสื่อสาร การถ่ายทอด และการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ (Dissemination) ยุทธศาสตร์ที่ 2 มาตรการทางกฎหมายและนโยบาย (ภาครัฐ การเมือง) 2.1 พัฒนากฎหมายและนโยบาย (เน้นการควบคุมและคุ้มครองผู้บริโภค) 2.2 เพิ่มประสิทธิภาพกลไกและสร้างเครือข่ายการบังคับใช้กฎหมาย 2.3 บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดแอลกอฮอล์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรณรงค์และสร้างภาคี (ภาคประชาชน) 3.1 สร้างเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน 3.2 เริ่มจากภายในองค์กร แต่ละองค์กรภาคี 3.3 สร้างจิตสำนึก ค่านิยม และวัฒนธรรมใหม่ 3.4 ทำตามภารกิจ และความถนัดของแต่ละองค์กรภาคี 3.5 ทำงานประสานสอดคล้องกับอนุกรรมการด้านกฎหมายและวิชาการ มาตรการ (ยุทธวิธี) ที่สำคัญของนโยบายชาติ (เฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในภาครัฐได้มีการดำเนินการทางกฎหมายโดยใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินการดังต่อไปนี้ จำกัดวันและเวลาจำหน่าย/จำกัดเวลาดื่ม จำกัดบุคคลที่เข้าไปในสถานบริการ/จำกัดอายุผู้ซื้อ/จำกัดสถานที่จำหน่าย/ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์/ควบคุมฉลากและคำเตือน และควบคุมใบอนุญาตจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการด้านภาษีและการควบคุมราคา/ด้านการควบคุมการผลิต-จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการปรับเปลี่ยนบริบทการดื่ม (ควบคุมการเข้าถึง)/ด้านการควบคุมพฤติกรรมของผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ด้านการควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการขาย/ด้านการให้ความรู้รณรงค์โน้มน้าว/ด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยจากแอลกอฮอล์/ด้านการพัฒนาและบังคับใช้กฎหมาย. ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการผลักดันร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ..... เพื่อให้ออกเป็นกฎหมายให้ในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีหัวใจหลักเน้นเรื่องการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อมุ่งหวังมิให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนและบุคคลทั่วไปเป็นสำคัญและร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างการแก้ไขในชั้นของคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.....และคาดว่าจะสามารถผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเดือนตุลาคม 2550.

Keywords: สุรา, แอลกอฮอล์, การควบคุมการบริโภค, สุขภาพ, นักดื่มหน้าใหม่, กฎหมาย, นโยบาย, ค่านิยม, เหล้า, สุรา, เยาวชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

Code: 200800139

ISSN/ISBN: 978-974-09-4574-1

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: