ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จอนห์ ทอนยงค์

ชื่อเรื่อง/Title: ลักษณะการและแนวโน้มของวัฒนธรรมไทยกับจิตใจ (Full Paper In English)

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 3, กรกฎาคม 2514, หน้า 239-248

รายละเอียด / Details:

แม้ว่าจะมีความเจริญและมีการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุมากมายในระยะไม่กี่สิบปีนี้ คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่เปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบไทย ช่วงที่ถือว่าสำคัญของชีวิตมี 3 ตอน คือ เมื่อสมรส, เมื่ออายุครบ 5 รอบ, การตายและงานศพ สองพิธีหลังนี้มีส่วนช่วยผ่อนคลายความเศร้าโศกได้ การเคารพสักการะบรรพบุรุษเป็นรากฐานที่ผูกพันครอบครัวไทยไว้ พุทธศาสนา ไม่มีพระเจ้า เมื่อไม่ต้องกลัวมหิทธานุภาพ ของพระผู้เป็นเจ้าก็ช่วยลดความรู้สึกผิดซึ่งมักพบในอาการเศร้าได้มาก ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนได้ทำให้บรรพบุรุษผิดหวัง แต่บรรพบุรุษก็จะไม่ลงโทษ ความเชื่อถือโชคลางและไสยศาสตร์ได้รับมาจากฮินดู บางคนโดยเฉพาะชาวชนบทจึงนำไปนับถือปนเปกับศาสนา คนไทยส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่อยู่ตามชนบท มักไปวัน งานรื่นแริงมักได้แก่งานวัด การร้องรำพื้นเมืองชาวชนบทจำนวนไม่น้อยขาดวิตะมินบี คอมเพล็กซซึ่งอาจทำให้ความจำและสมาธิบกพร่องได้ ศาสนาพุทธและประเพณีไทยมีส่วนอบรมให้คนไทยมีขันติ อ่อนโยน, และรู้จักควบคุมอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็ค่อนข้างมุ่งเข้าหาตนเอง สงวนถ้อยคำ, ขี้อาย, และเก็บตัว และคนไทยหลายคนเชื่อเรื่องชาติหน้า ความสัมพันธ์และความใกล้ชิดพึ่งพากันของครอบครัวใหญ่แบบครอบครัวไทย ช่วยลดความรุนแรงของอาการเศร้ามาก

Keywords: วัฒนธรรมไทยกับจิตใจ, วัฒนธรรมไทย, สุขภาพจิต,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2514

Address: กรุงเทพฯ คลินิก, 672/12 ถ.ฮ่องกงแบ็งค์, สี่พระยา กรุงเทพฯ 5

Code: 0000525

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัยได้ที่นี่ค่ะ PDF Format |ZIP Format