ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จอนห์ ทอนยงค์

ชื่อเรื่อง/Title: การวินิจฉัยและรักษาความเศร้า ภาค 1

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 2, เมษายน 2515, หน้า 122-135

รายละเอียด / Details:

แพทย์ที่ทำงานทางเวชปฏิบัติทั่วไป จะพบผู้ป่วยเศร้า 30% ของผู้ป่วยทั้งหมดและจิตแพทย์ตามคลินิคส่วนตัวจะพบผู้ป่วยเศร้า 60% ของผู้ป่วยจิตเวชที่มารับการรักษา. ความเศร้าอาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคทางกายบางอย่าง, อาจเกิดขึ้นเองหรือจากสิ่งแวดล้อม อาจเป็นอาการทางโรคประสาทซึมเศร้า ฯลฯ บางรายเกิดจากการได้รับยากลูโคคอร์ติคอยต์ ยาประเภทนิวโรเลพติค, หรือยาเม็ดคุมกำเนิด ในผู้ป่วยทุพโภชนาการอาการเศร้ามักร่วมกับคอร์สาคอฟฟ์สิย์นโดรม และโรคเวอร์นิเคของสมอง อาการเศร้าที่พบมากที่สุดในพวกทุโภชนาการคือ พวกที่เป็นโรคเหน็บชา และโรคเพลลากรา. เนื่องจากผู้ป่วย เศร้าอาจแสดงอาการออกในรูปอื่น เช่น การร้องเรียนว่าเจ็บป่วยทางกายและบางรายก็กลับยิ้มแย้ม จึงทำให้วินิจฉัยและรักษาโรคไม่ถูกต้อง อาการเศร้าเรื้อรังที่ไม่รุนแรงเป็นอาการผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติทั่วไป.

Keywords: เศร้า, อาการเศร้า, ซึมเศร้า, การวินิจฉัย, โรคซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2515

Address: กรุงเทพฯ คลินิก, 672/12 ถ.ฮ่องกงแบ็งค์, สี่พระยา กรุงเทพฯ 5

Code: 0000561

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ รายงานผู้ป่วย: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format