ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จอนห์ ทอนยงค์

ชื่อเรื่อง/Title: ความเศร้าในเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทย ภาค 2

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 19 ฉบับที่ 2, เมษายน 2517, หน้า 81-93

รายละเอียด / Details:

จากการตรวจสอบทางประสาทวิทยาคนไข้เศร้าทั้งหมด ปรากฎว่ามีคนไข้เป็นเปอร์ริเฟอรัล โปลินิวโรพาธี 51 ราย ใน 84 ราย 60% และมีเวอร์นิเคย์ เอนเซฟฟาโลพาธี 3 ราย 3.5% และมีโรคทางจิตกายสัมพันธร่วมด้วยคือโรคแผลในลำไส้ใหญ่, โรคผิวหนัง ประสาท,โรคคันเรื้อรัง, อ้วน และอนอร์เรคเซียนีโวสา และพวกไฮโปร์คอนเดรียอีก 10 ราย 12% อาการสำคัญที่คนไข้บอกมักจะเป็นเรื่องของร่างกาย บางรายยังมีอาการของมาสค์ดีเปรสชั่นด้วย มีคนไข้ 52 ราย 60% ซึ่งมีอาการอย่างเดียวหรือมีอาการร่วมอย่างอื่นร่วมด้วย ใน จำนวนคนไข้ 84 คนนี้มีถึง 81 คน 96% ที่มีอาการนอนไม่หลับ และอีก 44 ราย 52% รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาการเหนื่อย เบื่อหน่ายและอ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นอาการสำคัญที่คนไข้บอกเล่าทุกรายมีคนไข้ 64 ราย 76% มีอาการร่วมคือ มีความวิตกกังวลแบบเลื่อนลอยโดยไม่ทราบสาเหตุ. มีโรคกลัวโรงเรียน 7 ราย ฮิสทีเรีย 2 ราย อาการย้ำคิดย้ำทำ33 ราย และ อาการเศร้าแบบงงๆ อีก 3 ราย และสำหรับพวกบุคลิกภาพพิการนั้นยากที่จะบอกได้ว่ามีอาการเศร้าพวกเรนียนหนังสือไม่ดีมี 30 ราย 35% มีอาการแสดงออกมาทางความแปรปรวนของร่างกาย เช่นมีความเจ็บป่วยแบบจิตกายสัมพันธ์, ยิ้ม, เรียนไม่ด ีและมีอากรฮิสทีเรีย ลมชักฯลฯ และมีอยู่ 12 ราย มีอาการเศร้าอย่างชัดแจ้งที่ได้วินิจฉัยอยู่เฉพาะในวัยรุ่นระยะปลาย. ในรายที่เศร้าเรื้อรังนั้นยาต้านเศร้าจะต้องให้อย่างน้อย 1 ปีหรือมากกว่านั้น โดยจะไม่มีอาการทางร่างกายและจิตใจผิดปกติไป อาการเศร้าตามปกติที่เกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแบบเอนดอร์จินัส หรือ แบบเอนดอร์แอคทิพ และแทบทุกรายเป็นแบบเรื้อรังและไม่แจ่มชัด (มาสด์)

Keywords: ซึมเศร้า, เศร้า, อาการเศร้า, โรคซึมเศร้า, อารมณ์, depress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2517

Address: กรุงเทพฯ คลินิก, 672/12 ถ.ฮ่องกงแบ็งค์, สี่พระยา กรุงเทพฯ 5

Code: 0000583

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ รายงานผู้ป่วย: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.41MB