ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: Eduardo L. Jurilla

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการรักษาโดยวิธีจิตวิเคราะห์กลุ่มในคนไข้ที่ติดยาเสพติดกลุ่มหนึ่ง

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 1, มีนาคม 2522, หน้า 17-26. (ฉบับพิเศษ 1 การสัมนาภาคพื้นเอเชีย เรื่องยาทางจิตเวช)

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้มี 2 อย่างคื อ 1. เพื่อดูผลการรักษาโดยวิธีจิตวิเคราะห์กลุ่มในคนไข้ที่ติดยาเสพติด 2. เพื่อจะค้นหาว่าผู้เสพติดมีบุคลิกภาพอย่างไรบ้าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ผู้ศึกษาได้มีการพิสูจน์สมมุติฐานข้างล่างนี้คือ 1. ก. การใช้ Rorschach Test ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพก่อน และหลังรักษา ข. ไม่มีความแตกต่างในบุคลิกภาพของกลุ่มคนไข้และกลุ่มเปรียบเทียบ 2. ก. ก่อนและหลังการรักษา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความตั้งใจที่จะรักษา ข. ไม่มีความแตกต่างดังกล่าว ระหว่างกลุ่มคนไข้กับกลุ่มเปรียบเทียบ 3. ก. ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในความตั้งใจที่จะรักษา (motivation) ในกลุ่มคนไข้ ข. ไม่มีความแตกต่างในความตั้งใจที่จะรักษาตัวระหว่างกลุ่มคนไข้และกลุ่มเปรียบเทียบภายหลังการรักษา 4.ก. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน MMPI meanscales ของกลุ่มคนไข้ก่อนและหลังการรักษา ข. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน MMPI meanscales ในกลุ่มคนไข้ก่อนและกลุ่มเปรียบเทียบ 5. ก. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับเชาว์ปัญญาของกลุ่มคนไข้ก่อนและหลังการรักษา ข. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับเชาว์ปัญญาของกลุ่มคนไข้และกลุ่มเปรียบเทียบ การทำนายบางอย่างก็ได้กระทำเป็น empirical hypothesis ดังต่อไปนี้ 6. จะมีการเปลี่ยนแปลงทางดีขึ้นในท่าทีของคนไข้ในกลุ่มรักษามากกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบภายหลังการรักษาแล้ว (SSCT Test) 7. จะมีการเปลี่ยนแปลงทางดีขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดของตัวเอง (self concept ) และภาพพจน์ของตัวเอง (body image) ในกลุ่มรักษามากกว่าในกลุ่มเปรียบเมียบ (DAP drawings) 8. จะมีการเบี่ยงเบนน้อยลงใน BGVM Test ในกลุ่มรักษามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 9. จะมีพฤติกรรมดีขึ้นในกลุ่มรักษามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (Behavior Rating Scale) กลุ่มคนไข้มี 16 คน เลือกแบบสุ่มจากคนที่ไปเข้าอยู่ในโครงการฟื้นฟูที่ NFPI เขาถูกจัดเข้าคู่กับคนที่เปรียบเทียบโดยใช้ระดับเชาว์ปัญญา อายุ สถานภาพทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และระยะของการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูคนไข้ถูกจัดเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 8 คน กลุ่มหนึ่งเป้นกลุ่มทดลองให้จิตบำบัดกลุ่ม อีก 8 คน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งจะได้รับการทดสอบทางจิต 7 ประเภท ก่อนและหลังการรักษา การทดสอบเหล่านี้คือ 1. Rorschach Psychodiagnostic Test 2. Thematic Apperception Test 3. Minnesota Multiphasic Personality Inventory 4. Purdue Non-Language Test 5. Sacks Sentence Completion Test 6. Draw-A-Person Test 7. Bender Gestalt Visual Motor Test ระยะการรักษาใช้เวลา 3 เดือน และกระทำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ผลการทดสอบก่อนและหลังได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางปริมาณและคุณภาพทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อวัดความเปลี่ยนแปลงในการทำงานของบุคลิกภาพของผู้ถูกทดสอบ T Test (p‹.05) สำหรับข้อมูลคู่ได้ถูกนำมาใช้ทดสอบความสำคัญของความแตกต่างระหว่างมัธยฐานของตัวแปรอันได้ตั้งข้อสมมุติไว้ การทดสอบแบบ Rorschach แสดงให้เห็น T Value ของตัวแปร F/R, Sum c และ W:M ดังนั้นเราจึงอาจพูดได้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการทำงานของบุคลิกภาพภายหลังได้รับการรักษาแล้ว คือในแง่ของ constructive controls, emotional reactivity และ potential ที่หาได้ ตาม TAT ความตั้งใจที่จะรักษาลดลงในกลุ่มคนไข้ การทดสอบ SSCT แสดงว่ามีท่าทีที่ดีขึ้นต่อการทำผิด อนาคต และความสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่ยุ่งยากของกลุ่มรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ แต่ไม่มีการเปลี่ยแปลงในบุคลิกภาพ สรุปผลการตรวจทั้งสองกลุ่มแสดงว่าคนไข้มีความแปรปรวนในบุคลิกภาพโดยเฉพาะเป้นความผิดปกติแบบ trait และแบบอันธพาล (sociopathic) โดยทั่วไปจะพบลักษณะที่เรียกว่าความวุ่นวายของวัยรุ่นเป็นสำคัญ ก่อนการรักษากลุ่มรักษาแสดงความเลอะเลือนเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเอง (self - identity) และความสามารถส่วนตัวเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการกับความผิดหวังโดยทั่วไป และความเป็นศัตรูที่มุ่งต่อคนที่ได้เคยทำให้เขาเจ็บใจมาก่อน มีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ และความรู้สึกผิดในสิ่งไม่ดีที่ได้กระทำไปแล้ว ภายหลังการรักษาคนไข้ยอมรับว่าตนได้กระทำผิดไปและพร้อมที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาของตน สรุปโดยทั่วไปแล้ว การรักษาแบบจิตวิเคราะห์กลุ่มนี้ได้ผลดีในแง่การทำงานของบุคลิกภาพ ถึงแม้จะไม่แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพอย่างแน่นอนหรืออย่างสำคัญ แต่ก็มีความโน้มเอียงในบุคลิกภาพบางอย่างหลังจากการรักษาแล้ว.

Keywords: คนไข้ที่ติดยาเสพติด, จิตวิเคราะห์กลุ่ม, จิตบำบัดกลุ่ม, ผู้ป่วยยาเสพติด, สารเสพติด,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2522

Address: Faculth of Medicine and Surgery, Department of Neurology and psychiatry University, of Santo Tomas, Manila, Philipines

Code: 00006144

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Abstract Journal.

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.11MB