ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: Suk Whan Oh

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาด้านจิตเวชในประเทศเกาหลี

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 24 ฉบับที่ 2, มิถุนายน 2522, หน้า 211-218. (ฉบับพิเศษ 2 การสัมนาภาคพื้นเอเชีย เรื่องยาทางจิตเวช 1-4 พฤศจิกายน 2519 กรุงเทพฯ)

รายละเอียด / Details:

เกาหลีเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์และประเพณีมานาน และวัฒนธรรมของเกาหลีเคยได้รับอิทธิพลของเชอแมนนิสม์ พุทธศาสนา และลัทธิขงจื้อ วิชาแพทย์ของเกาหลีก็มีประวัตินานเช่นเดียวกัน และโดยประเพณีแล้วมีรากฐานมาจากการใช้ยาสมุนไพร เชื่อกันว่าโรคจิตเกิดมาจากอำนาจเหนือธรรมชาติที่ลึกลับ หมอเกาหลีจึงพยายามรักษาโรคจิตส่วนมากด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นการหลอกลวงคนที่งมงาย โดยการพยายามพิสูจน์สิ่งที่เขาอ้างถึงต่างๆ ให้เห็นจริง ในตำราแพทย์โบราณของเกาหลีนั้นเชื่อกันว่าตับเป็นที่ตั้งของอารมณ์ และว่าโรคจิตเกิดมาจากการที่ตัดตั้งผิดท่า คือพลิกเอาส่วนบนลง ดังนั้นการรักษาจึงพยายามใช้สมุนไพรกินเพื่อให้ตับพลิกกลับเข้าท่าปกติ แม้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบัน (ตะวันตก) จะถูกนำมาสู่เกาหลีถึง 90 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ดูจะมีประวัติค่อนข้างสั้นในเกาหลี ก่อน ค.ศ. 1945 วิชานี้ได้รับอิทธิพลจากเยอรมันมากและ อาศัยรากฐานของการบรรยายโรคแบบ แครบปิลิเนียน (Kraepelinian) อย่างไรก็ดีตั้งแต่นั้นมาวิชาแพทย์รวมทั้งจิตเวชศาสตร์ก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และแนวความคิดทางจิตเวชหันไปทางไดนามิก (dynamic) มากขึ้น โดยยึดแบบของอเมริกาเป็นส่วนมาก ต่อมาความสนใจก็ได้ขยายไปสู่ด้านอื่นๆ ของจิตเชมากขึ้น สมาคมจิตเวช และประสาทวิทยาของเกาหลีตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1948 มีสมาชิกทั้งที่เป็นจิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านจิตเวช 270 คน และกำลังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เตียงรับคนไข้จิตเวชทั้งหมดมี 3,000เตียง ซึ่งรวมถึง 600 เตียงของโรงพยาบาลจิตเวชแห่งชาติด้วย แต่อย่างไรก็ดียังมีการขาดแคลนเตียงอีกมากอย่างไม่น่าเชื่อ โรงเรียนแพทย์ทั้ง 14 แห่ง ต่างก็มีแผนกจิตเวชของตน แต่ส่วนใหญ่เพื่อการสอนและวิจัย มีจำนวนน้อยเท่านั้นที่เพื่อการรักษา เฉลี่ยระยะเวลาของการป่วยในโรงพยาบาลอยู่ระหว่าง 3-4 เดือน ส่วนมากไม่ถึง 6 เดือน เกี่ยวกับการรักษาส่วนใหญ่เป็นการผสมกันระหว่างการใช้ยาและจิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive psychotherapy) ยาที่ออกฤทธิ์จิตใจมีใช้แทบทุกชนิดตั้งแต่ยากล่อมประสาทอย่างแรง (phenothiazine butyrophenone) และยากล่อมประสาทอย่างอ่อน(อนุพันธ์ของ benzodiazepine) ยาแก้ความเศร้าใช้พวก tricyclic เป็นส่วนใหญ่และ monoamine oxidase inhibitor) แทบจะไม่ได้ใช้เลย เกลือของ lithium ใช้ได้ผลดี การช็อคด้วยไฟฟ้ายังมีการใช้อยู่โดยมากร่วมกับยากล่อมประสาท การรักษาด้วยจิตวิเคราะห์ตามแบบเดิมไม่เป็นที่นิยมในขณะนี้ แต่จิตบำบัดที่อ้างอิงแบบวิเคราะห์มีการปฏิบัติกันมากขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่มีการสำรวจว่ามีโรคจิตเท่าไรในเกาหลี แต่ในชาวบ้านนอก และชาวประมง เราได้ศึกษาระบาดวิทยากันบ้าง ซึ่งก็คิดว่าอัตราคงไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นเท่าไรนัก โรคจิตที่ต้องเข้าโรงพยาบาลมากที่สุดคือโรคจิตเภท ส่วนโรคทางอารมณ์พบน้อยกว่า โรคจิตในวัยชรามีน้อย และไม่ค่อยถูกนึกถึงมากนักในแง่ของความผิดปกติทางจิต General paralysis ยิ่งมีน้อยใหญ่ โรคพิษสุราเรื้อรังรวมทั้งที่มีอาการวิกลจริตร่วมด้วย แม้จะไม่เป็นปัญหา แต่ปัจจุบันก็ดูเหมือนจะมากขึ้น อัตราการติดยาเสพติดค่อนข้างน้อย เพราะมีการควบคุมอย่างกวดขันมาก โรคประสาทชนิดฮีสทีเรีย ชนิดวิตกกังวล และชนิดย้ำคิดย้ำทำพบได้บ่อยพอๆ กับประเทศอื่น ความแตกต่างในอาการวิทยาของโรคทางจิตในเกาหลีก็คล้ายๆ กับประเทศอื่นยกเว้นแต่อาการที่เกี่ยวกับองค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อผิดๆ ในโรคจิตเภทย่อมผิดไปในแต่ละประเทศ มีการเห็นความสำคัญของสุขภาพจิตมากขึ้น งานแนะนำเรื่องสุขภาพจิตสู่ชุมชนโดยการให้บริการการศึกษาและกิจการต่างๆ เกี่ยวกับด้านนี้กำลังได้รับความสนับสนุน

Keywords: การพัฒนาด้านจิตเวชในประเทศเกาหลี, โรคจิต, ไสยศาสตร์, ปัญหาทางจิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2522

Address: Formerly, College of Medicine, Busan National University, Busan, Korea.

Code: 00006149

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: บทความฟื้นวิชา: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.61MB