ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นิพนธ์ พวงวรินทร์

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาเปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมในคนไทยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและโรคพาร์กินสัน

แหล่งที่มา/Source: สารศิริราช ปีที่ 48, ฉบับที่ 4, เมษายน 2539, หน้า 291-301

รายละเอียด / Details:

คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมในคนไทยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองและโรคพาร์กินสัน ที่โรงพยาบาลศิริราช ในระหว่างปี 2533-2537. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่คัดเลือกเข้ามาศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 212 ราย และผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีจำนวน 132 ราย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองคือ 62.38 ปี (ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.12 ปี) และผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีอายุเฉลี่ย 67-72 ปี (ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.12 ปี) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมานาน 2.09ปี (ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.74 ปี) และระยะเวลาเฉลี่ยที่ผ่วยเป็นโรคพาร์กินสันมานาน 3.5 ปี (ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.53 ปี). ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจแยกภาวะซึมเศร้าออกไปก่อน โดยใช้แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทยเป็นตัวทดสอบ และยังได้คัดแยกผู้ป่วยโรคอัลซัยเมอร์ออกไปจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้. เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบทดสอบสมรรถาภพสมองของไทยเป็นหลัก. พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมี 70 ราย (ร้อยละ 33.02) และผู้ป่วยโคพาร์กินสันมี 34 ราย (ร้อยละ 25.76) ที่มีภาวะสมองเสื่อมเพราะทำคะแนนในการทดสอบสมรรถภาพสมองของไทยได้คะแนนต่ำกว่า23 คะแนน ซึ่งถือเป็นค่าเกณฑ์มาตรฐานของภาวะสมองเสื่อมในคนไทย. ผู้ป่วย 40 ราย (ร้อยละ 18.88) ในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำนวน 24 ราย (ร้อยละ 18.18) ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมอย่างรุนแรง (ค่าคะแนนจากแบบทดสอบได้ต่ำกว่า 20 คะแนน) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 30 ราย (ร้อยละ 14.15) และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำนวน 12 ราย (ร้อยละ 9.03) ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง, เพราะทำคะแนนจากแบบทดสอบได้ค่าระหว่าง 20-22 คะแนน. ส่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอีก 55 ราย (ร้อยละ 27.36) และผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำนวน 37 ราย (ร้อยละ 28.03) จัดอยู่ในกลุ่มให้การวินิจฉัยก้ำกึ่ง, เพราะทำคะแนนจากแบบทดสอบได้ระหว่าง 23-25 คะแนน. การศึกษาทดสอบเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะาสมองเสื่อมในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม โดยการวิเคราะห์แบบทดสอบย่อย, พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทุกความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม. พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีภาวะสมองเสื่อมรุนแรงจะมีการสูญเสียทางด้านการรับรู้ (diorientation) ด้านภาษาและความคิด (language and abstract thinking), และด้านการระลึกได้ (recall) น้อยกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างรุนแรง. ขณะเดียวกันการทดสอบด้านความใส่ใจ (attention) และการคำนวณ (calculation) จะพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีภาวะสมองเสื่อมรุนแรงจะมีความสูญเสียความสามารถดังกล่าว, มากกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีภาวะสมองเสื่อมรุนแรง. สำหรับการทดสอบด้านการจดจำ (registration) พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างรุนแรงของทั้งสองกลุ่ม. การศึกษาครั้งนี้ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันในรูปแบบของภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและโรคหลอดเลือดสมอง, ที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลางแต่อย่างใด. จึงสรุปว่าเราไม่สามารถแยกลักษณะของสมองเสื่อมที่พบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคพาร์กินสันได้, แม้ว่าผู้นั้นจะมีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ตาม.

Keywords: ภาวะสมองเสื่อม, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคพาร์กินสัน, ภาวะซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2539

Address: ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 00006154

ISSN/ISBN: 0125-152X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Abstract Journal.

Download: -