ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุดสบาย จุลกทัพพะ

ชื่อเรื่อง/Title: การสำรวจภาวการณ์ฆ่าตัวตายในประเทศไทย 2533

แหล่งที่มา/Source: สารศิริราช ปีที่ 45, ฉบับที่ 4, เมษายน 2536, หน้า 245-254

รายละเอียด / Details:

การศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทย 2533 จากใบมรณะบัตรที่เก็บบันทึกในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ และไมโครฟิล์ม จากสำนักงานทะเบียนราษฎร์, กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทยที่ให้สาเหตุของการตายเป็นการฆ่าตัวตาย จำนวน 3,323 ราย พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทย 5.9 คนต่อประชากร 100,000 คน และการฆ่าตัวตายคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของการตายทั้งหมดทั่วประเทศ พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง 1.8 เท่า, ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ 15-25 ปี และช่วงอายุ 56-65 ปี มีการฆ่าตัวตายสูงกว่าช่วงอายุ 46-55 ปี และ 65 ปีขึ้นไป ในคนที่ฆ่าตัวตายทั้งหมดเป็นโสดมากกว่าคนที่แต่งงาน, อาชีพที่พบมากที่สุดคือ อาชีพทำนา, รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง, แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรในอาชีพนั้นๆ ต่อแสนคน พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายในอาชีพกลุ่มเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก (10.4 คนและ 9.8 คน ต่อประชากร 1 แสนคน) สถานที่เกิดและสถานที่ตาย พบว่าจังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายสูง 6 อันดับแรก ได้แก่เชียงใหม่, ลำพูน, สิงห์บุรี, เชียงราย, ระยอง, จันทบุรี, ส่วนจังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายน้อย6 อันดับ สุดท้ายได้แก่ ปัตตานี, สตูล, นราธิวาส, กรุงเทพฯ, การฬสินธุ์, ยะลา ในด้านของเดือนที่ฆ่าตัวตายไม่มีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ฆ่าตัวตายทางสถิติ แต่เดือนมกราคม, เมษายน, มีนาคม มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุด วิธีการฆ่าตัวตายที่พบมากคือการผูกคอตาย รองลงมาคือ การกินยาตาย และการยิงตัวตาย แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการฆ่าตัวตายจะใช้วิธีรุนแรง, รวดเร็ว และให้ผลแน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ

Keywords: ฆ่าตัาตาย, ไทย, 2533 , ทะเบียนราษฎร์, suicide

ปีที่เผยแพร่/Year: 2536

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 00006165

ISSN/ISBN: 0125-152X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -