ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ภารณี ชวาลวุฒิ

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของยา Haloperidol, Trihexyphenidryl Hydrochloride ต่ออัตราการหลั่งน้ำลายของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาลบาลสวนปรุง เชียงใหม่

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544 . หน้า157

รายละเอียด / Details:

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรักษาการทางจิตของผู้ป่วย คือการรักษาโดยการให้ผู้ป่วยรับประทานยาต้านโรคจิต ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านโรคจิตที่มีโอกาสพบได้สูง คือ อาการปากแห้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยาต้านโรคจิตที่มีการใช้มากในโรงพยาบาล สวนปรุงคือ ยา Hydrochloride และยาTrihexyphenidryl Hydrochloride ต่ออัตราการหลั่งน้ำลายของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่ โดยผู้ป่วยที่ถูกคัดเลือกเริ่มเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำนวน 59 ได้รับยา Haloperidol ปริมาณ 6-8 mg ต่อวัน ยา Trihexyphenidryl Hydrochloride 2 mg เฉพาะเวลาจำเป็นแต่ 24 ชั่วโมงก่อนเก็บน้ำลาย งดให้ยา Trihexyphenidryl Hydrochloride และยา Diazepam 5 mg 2 เม็ด ก่อนนอนทุกวัน ทำการเก็บน้ำลายชนิดถูกกระตุ้นหลังจากได้รับยานาน 7 และ 14 วัน โดยการเคี้ยวแผ่นยางนาน 5 นาที ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยดังกล่าว จำนวน 48 คน มีอาการ Parkindonian like Syndrome มากต้องปรับขนาดยา Trihexyphenidryl Hydrochloride เป็น 6 mg ต่อวัน ทำการเก็บน้ำลายชนิดถูกระตุ้นหลังจากได้รับยานาน 7 และหรือ 14 วัน ค่าอัตราการหลั่งน้ำลายชนิดกระตุ้นของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม จะนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่ได้รับประทานยาใด ๆ เป็นประจำจำนวน 53 คน ซึ่งได้รับการเก็บน้ำลายชนิดกระตุ้นด้วยวิธีการเดียวกัน จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Haloperidol นานติดต่อกัน7 และ 14 วัน มีค่าอัตราการหลั่งน้ำลายชนิดถูกกระตุ้นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.75-0.76 ml ต่อนาที เมื่อเทีบกับกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับยาใดๆ มีค่าอัตราการหลั่งน้ำลายโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.37 ml ต่อนาที พบความแตกกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญที่.01 (P‹0.01) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Haloperidol ร่วมกับ Trihexyphenidryl Hydrochloride ติดต่อใน 7 วัน วัดค่าอัตราการหลั่งน้ำลายชนิดถูกกระตุ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.77 ml ต่อนาทีเมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ได้รับเฉพาะยา Haloperidol แล้ว ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับติดต่อกันไปถึงวันที่ 14 พบว่าอัตราการหลั่งน้ำลายจะลดลง โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 0.57 ml ต่อนาที ซึ่งอัตราการหลั่งน้ำลายนี้เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มแรกและกลุ่มควบคุมจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 (P<0.01) ผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่ายา Haloperidol ซึ่งเป็นยาต้านโรคจิตเภท Butyrophenone และยา Trihexyphenidryl Hydrochloride มีผลทำให้อัตราการหลั่งน้ำลายของผู้ป่วยลดลงในระดับต่ำถึงต่ำมาก ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้งสองชนิดมีโอกาสเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกได้สูงกว่าคนที่มีอัตราการหลั่งน้ำลายปกติ

Keywords: ยาต้านโรคจิต, ยารักษาโรคจิต, โรคจิต, major tranquilizers, tranquilizer, น้ำลาย, ผลข้างเคียงของยา, side effect, ้haloperidol, halo, antipsychotric drug

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000086

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -