ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุทธิพงศ์ ชิณเครือ

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิภาพและความปลอดภัยระหว่าง ริสเพอริโดนและ ฮาโลเพอริดอล ในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก

แหล่งที่มา/Source: วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542, 85 หน้า

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของริสเพอริโดนซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ เปรียบเทียบกับฮาโลเพิริดอลซึ่งเป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มเดิม ในการรักษาผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยการสุ่มตัวอย่าง(ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรกจำนวน 22 คนจากโรงพยาบาลศรีธัญญา เพื่อรักษาด้วยยาริสเพอริโดนในขนาด 2-6 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาฮาโลเพอริดอลในขนาด 10-40 มิลลิกรัมต่อวันผลการศึกษาประกอบด้วยประสิทธิภาพการรักษาและผลข้างเคียง ซึ่งประสิทธิภาพการรักษาจะถูกวัดโดยมาตรวัด Positive and Negative Syndrome Scale(PANSS) และผลข้างเคียงโดยเฉพาะผลข้าเคียงทางระบบเอกซ์ตร้าปิรามิดอล (Extrapyramidal symptoms,EPS)จะถูกวัดโดยมาตรวัด Extrapyramidal Symptom Rating Scale (ESRS) ประสิทธิภาพการรักษาจะประเมินที่ 8 สัปดาห์ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ายาริสเพอริโดนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาฮาโลเพอริดอลในการลดค่าคะแนน PANSS ของผู้ป่วย อัตราการตอบสนองต่อการรักษาที่ 8 สัปดาห์ ซึ่งพิจารณาจากคะแนน PANSS ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเริ่มต้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาริสเพอโดนขนาด 3.5+_1.8 มิลลิกรัมต่อวันเท่ากับร้อยละ 81.8 และในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฮาโลเพอริดอลขนาด 12.6+ _10.3 มิลลิกรัมต่อวันเท่ากับร้อยละ 66.7(p=0.29) ในช่วงระยะเวลา 24 สัปดาห์ของการติดตามผลการรักษา กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาริสเพอโดนจะพบอุบัติการณ์ของผลข้างเคียง drowsiness และtremor มากกว่า ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฮาโลเพอริดอลจะพบอุบัติการณ์ของผลข้างเคียง acute dystonia และ sialorrhea มากกว่า การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม รวมถึงผลข้างเคียงชนิด erectile dysfunction dysfunction,irregular menstruation และ akathisia ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับริสเพอริโดน และ acute dystonia, akathisia และ galactorrhea ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับฮาโลเพอริดอล จัดเป็นผลข้างเคียงสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องการที่จะได้รับยาต่อเนื่องในระหว่าง 24 สัปดาห์ของการติดตามผลการรักษา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก การให้การรักษาด้วยยาริสเพอริโดนจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาฮาโลเพอริดอล โดยริสเพอริโดนจะมีข้อดีกว่าฮาโลเพอริดอลเมื่อพิจารณาว่าริสเพอริโดนจะพบอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงทางระบบเอกซ์ตร้าปิรามิดอล ชนิด acute dystonia น้อยกว่า

Keywords: ประสิทธิภาพ, ริสเพอริโดน, ฮาโลเพอริดอล , ยาต้านโรคจิต, ยารักษาโรคจิต, risperidone, risperidal, haloperidal, halo, major ranquilizer, จิตเภท, โรคจิต, schizophrenia, side effect, drug, ยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2542

Address: มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 000131

ISSN/ISBN: 974-663-160-8

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์

Download: -