ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วัลลีย์ กนกวิจิตร

ชื่อเรื่อง/Title: มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย

แหล่งที่มา/Source: วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, ปีที่ 4, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม 2533, หน้า 89-99.

รายละเอียด / Details:

สรุปผลการวิจัย จากแบบสอบถามที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 21 ท่าน แสดงความคิดเห็นในเรื่องของการพยาบาลผู้ป่วยซึมเศร้า ตามมัธยฐานของ Mild Depression ด้านกิจกรรมพยาบาล อยู่ในระหว่าง 10.96-10.92 และด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 10.62-10.88 การกระจายควอไตล์ ด้านกิจกรรมพยาบาล อยู่ในระหว่าง 0.58-0.81 ด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 0.62-0.88 คะแนนมัธยฐาน Moderate Depression ด้านกิจกรรมการพยาบาลอยู่ในระหว่าง 10.69-10.92 และด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 10.62-10.88 การกระจายควอไตล์ ด้านกิจกรรมการพยาบาล อยู่ในระหว่าง 0.58-0.81 ด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 0.62-0.88 คะแนนมัธยฐาน Severe Depression ด้านกิจกรรมการพยาบาล อยู่ในระหว่าง 10.69-10.94 และด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 10.62-10.94 การกระจายควอไตล์ ด้านกิจกรรมการพยาบาล อยู่ในระหว่าง 0.55-0.81 ด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 0.55-0.88 การพยาบาลผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย คะแนนมัธยฐาน ด้านกิจกรรมการพยาบาล อยู่ในระหว่าง 10.57-10.97 และด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 10.62-10.96 การกระจายควอไตล์ ด้านกิจกรรมการพยาบาล อยู่ในระหว่าง 0.53-0.75 และด้านผลลัพธ์ อยู่ในระหว่าง 0.55-0.88 ตำแหน่งมัธยฐานอยู่ในชั้นคะแนนที่ 9-11 ในช่วงเห็นด้วยมากที่สุด ส่วนการกระจายความคิดเห็น ส่วนมากจะใกล้เคียงกับชั้นคะแนนที่เป็นมัธยฐานและชั้นคะแนนที่สูงกว่ามัธยฐาน พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยว่ากิจกรรมการพยาบาลที่จัดขึ้นเหมาะที่จะนำไปเป็นมาตรฐานการพยาบาลได้ ดังนี้ มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วย Mild Depression มาตรฐานการพยาบาลที่ 1 ผู้ป่วยคลายวิตกกังวลมีอารมณ์แจ่มใสและสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้ตามปกติ มาตรฐานการพยาบาลที่ 2 ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 4 ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วย Moderate Depression มาตรฐานการพยาบาลที่ 1 ผู้ป่วยมีอารมณ์เศร้าลดลง และมีสมาธิในการปฏิบัติงานดีขึ้น มาตรฐานการพยาบาลที่ 2 ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและมีความมั่นใจในตนเอง มาตรฐานการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้ตามปกติ มาตรฐานการพยาบาลที่ 4 ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้นจนเป็นปกติ มาตรฐานการพยาบาลที่ 5 ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 6 ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 7 ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วย Severe Depression มาตรฐานการพยาบาลที่ 1 ผู้ป่วยปลอดภัยจากการทำร้ายตนเอง มาตรฐานการพยาบาลที่ 2 ผู้ป่วยไม่ได้รับอันตรายหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นจากอาการหลงผิดประสาทหลอน มาตรฐานการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและขับถ่ายได้ตามปกติ มาตรฐานการพยาบาลที่ 4 ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 5 ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้นจนปกติ มาตรฐานการพยาบาลที่ 6 ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและมั่นใจในตนเอง มาตรฐานการพยาบาลที่ 7 ครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล มาตรฐานการพยาบาลที่ 8 ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในด้านสุขภาพอนามัยและกิจวัตรประจำวัน มาตรฐานการพยาบาลที่ 9 ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย มาตรฐานการพยาบาลที่ 1 ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง มาตรฐานการพยาบาลที่ 2 ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการรักษาด้วยไฟฟ้า มาตรฐานการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและมั่นใจในตนเอง มาตรฐานการพยาบาลที่ 4 ครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล

Keywords: มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย, มาตรฐาน, พยาบาล, การพยาบาล, ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, กิจกรรมพยาบาล, การพยาบาลผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย, การพยาบาลผู้ป่วยซึมเศร้า, การพยาบาลจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2533

Address: โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

Code: 0000000156

ISSN/ISBN: 0857-4553

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: สรุป รายงานวิจัย: วารสารวิชาการ

Download: -