ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ประยูร ปิดจะยัง

ชื่อเรื่อง/Title: การให้ความช่วยเหลือในการป้องกัน ลด ละ เลิกเสพสารเสพติดในกลุ่มเพื่อนนักเรียนมัธยมอำเภอชุมพลบุรี

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 54

รายละเอียด / Details:

เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนกระบวนการช่วยเหลือระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วยกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 560 คน เป็นชาย 220 คน (39%) เป็นหญิง 340 คน (61%) นักเรียนที่มีเพื่อนเสพยาเสพติดจำนวน 206 คน (37%) เพื่อนทติดส่วนมากเป็นเพศชาย(94.6%) โดยมีความสัมพันธ์แบบรู้จักพูดคุยด้วยแต่ไม่สนิทมากที่สุด (62%) รองลงมาเป็นรู้จักและสนิท (27%) สารเสพติดที่เพื่อนเสพมากที่สุดได้แก่ เหล้าและบุหรี่ (41%) รองลงมาได้แก่บุหรี่อย่างเดียว (33%) ส่วนยาบ้ามีร้อยละ 2.2 โดยกลุ่มตัวอย่างทราบข้อฒุลจากการพบเห็นมากที่สุด (61%) รองลงมาคือจากคำบอกเล่าของผู้เสพเอง (16.8%) สำหรับการช่วยเหลือเพื่อนที่เสพหรือติดให้ลดละ เลิก นั้นพบว่าร้อยละ 72.5 เคยให้การช่วยเหลือโดยการตักเตือนโดยตรงมากที่สุด(76%) รองลงมาได้แก่การบอกกล่าวกับเพื่อนสนิทของผู้เสพ(16%)และการแจ้งผู้ปกครอง (5%) ความถี่ในการตักเตือนนั้นจะตักเตือนเป็นบางครั้งมากที่สุด (67%) รองลงมาคือการตักเตือนทุกครั้งที่พบ (20%) และมีการตักเตือนบ่อย ๆ (10%) ประสิทธิผลของการตักเตือนนั้นเพื่อนมีการเลิกเสพเพียงร้อยละ 9 และที่เหลือยังมีการเสพตือต่น้อยลง (57%) และไม่สนใจคำตักเตือน (34%) หลังจากเมื่อมีการตักเตือนแล้วเพื่อนยังไม่เลิกนักเรียนมีการดำเนินการต่อคือยังคบเพื่อนอยุ่แต่ไม่พูดถึงเรื่องยาเสพติดอีก (39%) รองลงมาได้แก่การบอกเพื่อนคนอื่นให้ช่วย (33%) สำหรับเพื่อนที่ไม่ช่วยเหลือเพื่อนมีสาเหตุจากการไม่อยากยุ่งเรื่องส่วนตัวของเพื่อนมากที่สุด (42%) รองลงมาเนื่องจากกลัวอันตราย (30%) และความไม่สนิทสนม (20%) อย่างไรก็ตามนักเรียนส่วนมาก (64%) มีความมั่นใจในการตักเตือนเพื่อน ส่วนที่ไม่มั่นใจเนื่องจากคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะตักเตือนมากที่สุด (34%) รองลงมาคือรู้ไม่จริง (25%) สำหรับความรู้ที่ต้องการเพื่อการตักเตือนเพื่อนคือ การให้คำปรึกษาแก่เพื่อน (47%) ความรู้เรื่องยาและสารเสพติด (38%) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเพื่อนมีส่วนช่วยเหลือเพื่อนให้ลดละเลิกการเสพยาหรือสารเสพติดด้วยการให้คำแนะนำโดยนักเรียนมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเพื่อนสนิทมีส่วนในการช่วยเหลือเพื่อนให้ลด ละ เลิก สารเสพติดมากกว่ากลุ่มเพื่อนทั่วไป

Keywords: สารเสพติด, ยาเสพติด, การให้ความช่วยเหลือระหว่างกลุ่มเพื่อน, กลุ่มเพื่อน, นักเรียน, กลุ่มกิจกรรม, กิจกรรม, กลุ่ม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000160

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -