ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธรณินทร์ กองสุข

ชื่อเรื่อง/Title: ลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับโรคจิตระยะสั้นและระยะยาวจากเมทแอมเฟตามีน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 92

รายละเอียด / Details:

ผู้ที่เสพเมทแอมเฟตามีนในขนาดสูง ๆ ทำให้เกิดอาการทางจิตชนิดเฉียบพลัน และบางรายมีอารการทางจิตเรื้อรัง การศึกษาถึงลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวกับโรคจิตจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีนจะเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคจิตจากผู้เสพสารแมทแอมเฟตามีน กรมสุขภาพจิตจึงได้ทำการศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับโรคจิตระยะสั้นและระยะยาวจากแมทแอมเฟตามีนเป็นการวิจัยแบบ Cross-sectional Descriptive Studyกลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็น Amphetamine-induced psychotic disorder ไม่จำกัดเพศ อายุ 15-45 ปี จำนวน 154 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสวนปรุง ศรีธัญญา สมเด็จเจ้าพระยา นิติจิตเวช จิตเวชนครราชสีมา จิตเวชขอนแก่น พระศรีมหาโพธิ์และสวนสราญรมย์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2544-31 พฤษภาคม 2545 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์โดยคณะวิจัยในแต่ละโรงพยาบาลเป็นผู้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ Mean S.D Chi-square สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคจิตระยะสั้นและระยะยาวจากแมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่เป็นชาย (34.4 %, 53.2%) มีอายุระหว่าง 21-30 ปี (23.5 %, 30.7%) อาชีพรับจ้างทั่วไป (10.5 %, 21.7%) การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา/ปวช. (20.4 %, 25.7%) เสพครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี (38.8 %, 48.2%) ผู้ป่วยโรคจิตระยะสั้นเสพนานมากกว่า 1-2 ปี (10.4%) ผู้ป่วยระยะเสพนาน มากกว่า 5 ปี (14.9%) ผู้ป่วยโรคจิตระยะสั้นมีความถี่ในการเสพช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ (14.2 %) ผู้ป่วยโรคจิตระยะยาวเสพทุกวัน (15.5%) และพบว่าความถี่ในการเสพมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ และมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value‹0.05) ผู้ป่วยโรคจิตระยะสั้นและระยะยาวเคยเสพมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงของ 1 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 1-5 เม็ด (42.2%, 48.3%) ลักษณะทางครอบครัวรักใคร่กันดี (35.4%,45.1%) แต่เมื่อเสพจะทำให้มีการด่าทอกันในครอบครัว (34.2% , 39.4%) และเกิดผลกระทบทำให้ครอบครัวรังเกียจ (34.2%,28.0%) ซึ่งมีและไม่มีการด่าทอกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่มีเพื่อน/คนใกล้ชิดเสพ (33.6%,34.4%) ชุมชนมีการเสพ (32.9%,40.7%) และมีการซื้อขายกันในชุมชน (34.0%,39.0%)

Keywords: ยาบ้า, ยาเสพติด, บุคลิกภาพ, โรคจิตจากยาบ้า, โรคจิต, แอมเฟตามีน, สารเสพติด, amphetamine, drug abuse, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000189

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -