ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เลิศฤทธิ์ บัญชาการ

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของผู้ที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 116

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่ครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท และวิธีการเผชิญความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยผู้ป่วยจิตเภทเป็นผู้ป่วยใหม่ซึ่งมารับบริการที่โรงพยาบาลจิตเวชนครพนม ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ทั้งเพศหญิงและชาย และมีระยะเวลาการเจ็บป่วยใน้อยกว่า 2 ปี มีครอบครัวเป็นผู้ดูแลบ้าน (Famoly caregiver) ในชุมชนเขตอำเภอเมือง และจังหวัดนครพนม จำนวน 15 ตำบล กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนจากทุกครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยผู้ป่วยจิตเภทเป็นผู้ที่เป็นผู้มารับบริการประเภทผู้ป่วยใหม่ที่โรงพยาบาลจิตเวชนครพนม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ 2539-กันยายน พ.ศ 2542 รวม 36 เดือน จำนวนทั้งหมดทั้งหมด 128 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไปของครอบครัว ข้อมูลทั่วไปของตัวแทนครอบครัว และข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ส่วนที่ 2 เป็นแบบประเมินความเครียดของครอบครัว มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ และส่วนที่ 3 เป็นแบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของครอบครัว มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 104 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 81.2 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท เป็นครอบครังเดี่ยวร้อยละ 65.4 ครอบครัวขยาย ร้อยละ 34.6 ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิก 4-6 คน ร้อยละ 50.0 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 98.0 ภาวะสุขภาพของครอบครัว ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 53.8 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 46.2 แหล่งที่มาของรายได้ มาจากสมาชิกของครอบครัว ร้อยละ 75.4 รายได้ของครอบครัว ต่ำกว่า 10,000บาท /เดือน ร้อยละ 87.5 ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นแบบไม่พอใช้ มีหนี้สิน ร้อยละ 32.7 ครอบครัวไม่มีการประกันสุขภาพ ร้อยละ 25.0 และมีการประกันสุขภาพ ร้อยละ 75.0 โดยเป็นแบบบัตรสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล (ส.ป.ร.) มากที่สุด ร้อยละ 51.3 ครอบครัวมีระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย มากกว่า10 ปี ร้อยละ 41.3 ส่วนตัวแทนของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท เป็นเพศชาย ร้อยละ32.7 เพศหญิง ร้อยละ 67.3 ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 49 มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยเป็นบิดา/มารดา ร้อยละ 52.0 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.0 สถานภาพการสมรสคู่ ร้อยละ 68.3 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 74.0 สมาชิกของครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตัวแทนในการดูแลผู้ป่วย ร้อยละ 75.0 และไม่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ร้อยละ 25.0 ส่วนผู้ป่วยจิตเภท เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.8 เพศหญิง ร้อยละ 44.2 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 22-40 ปี ร้อยละ 64.4 สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 53.8 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.0 การศึกษาระดับประถมศึกา ร้อยละ 71.2 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 33.7 ไม่มีการประกันสุขภาพ ร้อยละ 14.4 และมีการประกันสุขภาพ ร้อยละ 85.6 โดยเป็นบัตร ส.ป.ร. ร้อยละ 59.6 ผู้ป่วยไม่เคยรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 47.1 และเคยรับไว้รักษา ร้อยละ 52.9 มีระยะเวลาการเจ็บป่วยระหว่าง 2-5 ปี ร้อยละ 37.5

Keywords: ความเครียด, เครียด, การเผชิญความเครียด, ครอบครัว, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเภท, สุขภาพจิต, ระดับความเครียด, mental health, psychiatry, stress, coping stress, coping, schizophrenia, schizo

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000207

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -