ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อภิชัย มงคล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยระดับชุมชน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 126-127

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อชี้วัดภาวะสุขภาพจิตของชุมชนจะเป็นเครื่องมือซึ่งช่วยให้แต่ละชุมชน ได้ตรวจสอบว่าชุมชนตนเอง มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับใดเมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนอื่นๆ วัถุประสงค์ เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยระดับชุมชน ขอบเขตการวิจัย เป็นการศึกษาชุมชนในภาคอีสาน ได้แก่ ระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง อบต. ระดับ 1-5 ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1 การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตชุมชนในมุมมองของประชาชน โดยพัฒนาเครื่องมือจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนดคำจำกัดความสุขภาพจิตชุมชน ได้เครื่องมือ มี 4 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย มีคำถาม 43 ข้อ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชนจำนวน 42 แห่ง จาก 11 จังหวัดในภาคอีสานของเทศบาลนคร เทศบาลเมืองอบต. ระดับ 1-5 สุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และหาเกณฑ์ปกติของสุขภาพจิตชุมชน ส่วนที่ 2 การศึกษาดัชนีเพื่อทำนายภาวะสุขภาพจิตของชุมชน โดยการสร้างเครื่องมือเช่นเดียวกับส่วนที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งเป็น 3 หมวด คือ 1) จากที่ว่าการอำเภอ 2) ข้อมูลจากสถานีอนามัย 3) โดยการสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน นำเครื่องมือที่ได้ไปเก็บข้อมูลจากชุมชน 42 แห่งเช่นเดียวกับส่วนที่ 1 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน สรุปผลการวิจัย ได้ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตชุมชน มี 4 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย คือ 1) สภาวะทางสุขภาพจิตของชุมชน 2) สมรรถภาพทางสุขภาพจิตของชุมชน 3) คุณภาพทางสุขภาพจิตของชุมชน 4) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วยส่วนที่1 ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต ชุมชนในมุมมองของประชาชนมี 22 ข้อโดยมีเกณฑ์ปกติแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ สุขภาพจิตชุมชนดีกว่าชุมชนทั่วไป (ผ47-66คะแนน) เท่ากับชุมชนทั่วไป (41-46คะแนน) ต่ำกว่าชุมชนทั่วไป (40 คะแนนหรือน้อยกว่า) ส่วนที่ 2 ดัชนีที่ทำนายภาวะสุขภาพจิตชุมชน มี 3 แนวคิด แนวคิดที่ 1 คือ 1) อัตราผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือเรื้อรัง 2) อัตราคนพิการ 3) อัตราคนวัยทอง 4) อัตราผู้ป่วยโรคจิตและโรคประสาท แนวคิดที่ 2 คือ 1) จำนวนสถานีอนามัยใกล้บ้าน 2) จำนวนองค์กรภายนอกที่เชื่อมโยง เพื่อสร้างประโยชน์หรือเพื่อพัฒนาชุมชน แนวคิดที่ 3 คือ 1) จำนวนสถานีอนามัยใกล้บ้าน 2) จำนวนองค์กรภายนอกเชื่อมโยง เพื่อสร้างประโยชน์หรือเพื่อพัฒนาชุมชน 3) อัตราผู้ป่วยโรคจิตและประสาท

Keywords: สุขภาพจิต, ดัชนีชี้วัด, ชุมชน, mental heath indicator, mental health, community, Indicator

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000215

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -