ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดำเนินงานระบบส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ทาง E-mail ณ จังหวัดนำร่อง : อำนาจเจริญและยโสธร

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 133

รายละเอียด / Details:

ปี 2544 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ได้จัดทำโครงการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช ทาง E-mail ไปยังเครือข่ายงานสุขภาพจิตจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน จึงได้ทำการวิจัยประเมินผลนี้ขึ้น ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต จังหวัดอำนาจเจริญ และยโสธร จำนวน 19 คน และผู้ป่วย Psychosis ที่ถูกส่งต่อทาง E-mail ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2545 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้บูรณาการจากรูปแบบของ CIPP Model เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ที่ครอบคลุมถึง Contexts Inputs Processes products และ Otucomes วิเคราะห์ข้อมูลเชิงตรรกะหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลเชิงสถิติ ร้อยละ สรุปผลการวิจัย พบว่า ด้าน Contexts ทั้งจังหวัดอำนาจเจริญ และยโสธร ผู้บริหารมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบส่งต่อทาง E-mail ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขบางแห่งสามารถส่ง/รับข้อมูลได้ ทาง Internet และรับ/ส่ง ได้ทุกแห่งทาง Intranet Inputs มีการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ยังไม่ชัดเจน ผู้รับผิดชอบโดยตรงเป็นเจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิตและศูนย์คอมพิวเตอร์ และมีงานรับผิดชอบหลายอย่าง อุปกรณ์ เครื่องมือต้องใช้ร่วมกับงานอื่น Processes มีแนวทางการปฏิบัติงาน และมีการเตรียมความพร้อมบุคลากรด้วยการอบรม Products ผลการดำเนินงานทำให้ทั้งโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยส่งต่อเดียวกัน รับ/ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทาง Internet/Intranet ที่มีความรวดเร็วขึ้น สามารถนำไปเตรียมการบริการล่วงหน้าได้ และทำให้การบริการรวดเร็วขึ้น จำนวนผู้ป่วย Psychosis ที่ส่งไปจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 45.4,58.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ส่งไปที่โรงพยาบาลทั่วไป ร้อยละ 32.3, 24.4 ตามลำดับ Outcomes อัตราการกลับมารักษาของผู้ป่วย Psychosis หลังจากส่งต่อไปจังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร พบว่า ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 10 คือ ร้อยละ 4.6,6.6 ตามลำดับ และสาเหตุส่วนใหญ่ที่กลับมารักษาคือ กินยาที่รักษาจากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์แล้วไม่ดีขึ้น ร้อยละ 50.0,69.2 ตามลำดับ และทั้ง 2 จังหวัด ผู้ป่วยไปรับการรักษาที่หน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้านตามนัดร้อยละ 98.6 ผู้ป่วยและญาติมีความเห็นว่าหลังจากใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานระบบบริการส่งต่อรวดเร็วดีขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 63.5 และเจ้าหน้าที่มีเวลาให้การปรึกษามากขึ้น ร้อยละ 51.4

Keywords: e-mail, การส่งต่อ, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวชชุมชน, เครือข่ายสุขภาพจิต, เครือข่าย, psychosis, network, community psychiatry, CIPP Model

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000220

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -