ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิมลพรรณ นิธิพงศ์

ชื่อเรื่อง/Title: การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเอง

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 146

รายละเอียด / Details:

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ควรจะได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างเสริมสุขภาพให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต แต่การรวมกลุ่มของผู้สูงอายุยังไม่มีรูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนอย่างชัดเจน การวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเอง ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกตุอย่างมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนพงสวายที่สมัครใจเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนที่จำเป็นในการพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตัวเองของผ็สูงอายุมี 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1. ปฐมนิเทศและจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์การเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงประโยชน์ของกลุ่ม จึงร่วมกับสมาชิก ผู้สูงอายุสร้างเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 วางแผนในการจัดกลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุร่วมกันกำหนดวัถุประสงค์ สร้างกติกาข้อตกลง กำหนดวันเวลา สถานที่นัดพบกันในการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเอง และจัดบริหารกิจการกลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 พบปะกลุ่มในการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว และความผูกพันของกลุ่ม ขั้นตอนที่ 4การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ขั้นตอนที่ 5 เลือกแนวทางและประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มไปปฏืบัติ ขั้นตอนที่ 6 สะท้อนผลการนำแนวทางหรืประสบการณ์ ที่เลือกจากกลุ่มหลังจากนำไปใช้และขั้นตอนสุดท้าย คือประเมินผลกลุ่มและบอกประโยชน์ที่ได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่มในการพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ ให้เกิดความเข้มแข็งต่อเนื่อง สมาชิกผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนตัดสินใจ เกี่ยวกับการดำเนินกลุ่ม และประเมินผลโดยมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ มีการเต็มใจช่วยเหลือกันและกัน และสมาชิกกลุ่มเกิดความพึงพอใจ ทั้งนี้ ปัจจัยที่สนับสนุนคือศักยภาพของผู้นำกลุ่มประสบการณ์การเข้าร่วมกลุ่ม ช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุในอดีต แรงสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากครอบครัว สำหรับอุปสรรคในการพัฒนากลุ่ม คือ ปัญหาด้านสุขภาพ และภารกิจความรับผิดชอบของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่ได้จากการมีส่วนร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ จะมีประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพกายสุขภาพจิตและสังคม โดยเฉพาะการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนั้นจึงควรมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายกลุ่ม กลุ่มช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ ในลักษณะกลุ่มย่อย ในชมรมใหญ่ ของผู้สูงอายุ แบะสนับสนุนการพัฒนากลุ่มช่วยเหลือตนเองอย่างต่อเนื่อง

Keywords: ผู้สูงอาย, กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, กลุ่มบำบัด, กิจกรรม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000230

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -