ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จุรัญ อึ้งสำราญ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาปัจจัยที่ทำให้ญาติล่ามขังผู้ป่วยจิตเวชในเขตจังหวัดหนองคาย

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 159

รายละเอียด / Details:

ปี 2544 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการดูแลสุขภาพจิตโดยมีคำขวัญว่า "Stop Exclusion-Dare to Care" เพื่อมุ่งเน้นให้หยุดการกีดกันผู้ป่วยทางจิตออกจากสังคม โดยกรมสุขภาพจิตมีนโยบายให้โรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งจัดโครงการปลดโซ่ตรวนผู้ป่วยทางจิตที่ถูกล่ามขัง โดยมุ่งหวังว่าการปลดปล่อยโว่ตรวนผู้ป่วยล่ามขัง จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงเกิดการศึกษานี้เพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาการล่ามขังผู้ป่วยจิตเวชในอนาคต โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ญาติล่ามขังผู้ป่วยจิตเวช และมีขอบเขตการศึกษา เฉพาะญาติที่ล่ามขังผู้ป่วยจิตเวชในเขตจังหวัดหนองคาย จำนวน 21 คน วิธีการ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำญาติล่ามขังผู้ป่วยจิตเวช เก็บรวบรวมข้อมูลจากญาติผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 21 คน ระหว่างเดือน ต.ค. 2544 - มี.ค. 2545 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่และร้อยละ สรุปผล จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างป็นชาย คิดเป็นร้อยละ 47.6 เป็นหญิง คิดเป็น ร้อยละ 52.4 อายุเฉลี่ย 57 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 สถานภาพสมรสส่วนใหญ่เป็นคู่ อาชีพทำนา มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเป็นบิดามารดา รายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,000-20,000 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้ญาติล่ามขังผู้ป่วยจิตเวชที่พบมากที่สุดเป็นปัจจัยทางด้านอาการและการดูแล คิดเป็นร้อบละ 65.7 คือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบจะมีพฤติกรรมที่รุนแรง อาทิ ก้างร้าว ทำร้าย คนอื่นทำลายข้างของถอดเสือผ้า เป็นต้น ส่วนด้านการดูแล ส่วนมากเกิดจากญาติขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะของโรค การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องรองลงมา เป็นปัจจัยด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 28.6 พบว่า ญาติถูกกดดันจากชุมชนที่อยากให้กักขังและผูกมัดผู้ป่วยไว้ตลอดเวลา และน้อยที่สุดเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 5.7 เราพบว่าผู้ป่วยจิตเวชส่วนมากมักถูกกีดกันจากครอบครัว ชุมชน และสังคม อันเนื่องมาจากมีอาการทางจิตกำเริบและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมรุนแรงทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อครอบครัวชุมชน และสังคม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ญาติของผู้ป่วย ยอมรับไม่ได้ อันเนื่องมาจากความกลัว อับอายไม่กล้าเปิดเผย และไม่กล้าเผชิญความจริงในสิ่งที่เกิดจากการกระทำของผู้ป่วย จึงทำให้ญาติต้องล่ามขังผู้ป่วยไว้ โดยคิดว่าจะทำให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน ปลอดภัย ดังนั้น ภายหลังจากการศึกษาครั้งนี้ จึงมีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ผู่ป่วยจิตเวช และญาติอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Keywords: ล่ามขัง, ผู้ป่วยจิตเวช, ปลดโซ่ตรวน, โซ่ตรวน, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวช, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, community psychiatry, psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000241

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -