ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศุภรัตน์ เวชสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาปัญหาของผู้มารับบริการปรึกษาในคลินิกให้การปรึกษา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 247. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การให้บริการปรึกษาเป็นบริการที่สำคัญที่ช่วยเหลือผู้มารับบริการทางด้านสังคม จิตใจ ควบคู่กันไปกับการรักษาพยาบาล การให้บริการปรึกษาในห้องให้การปรึกษาที่หน่วยงานแพทย์ทางเลือก ลักษณะปัญหาของผู้มารับบริการหลากหลายปัญหา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทักษะของผู้ให้การปรึกษา รวมทั้งรูปแบบและระบบการให้บริการปรึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป และลักษณะปัญหาของผู้มารับบริการปรึกษา 2. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้ให้บริการปรึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการให้ปรึกษาของผู้มารับบริการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2546 จำนวน 246 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window โดยใช้สถิติการแจกจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา ผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.5 อายุอยู่ในช่วง40-49 ปี ร้อยละ 27.6 อายุเฉลี่ย 36 ปี อายุต่ำสุด 14 ปี อายุสูงสุด 71 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 56.1 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 77.6 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 24.0 ภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 54.9 ระยะเวลาที่ได้รับการปรึกษาอยู่ในช่วง 41-50 ปี ร้อยละ 32.5 เฉลี่ยเวลา 48 นาทีต่อราย เวลาที่ใช้น้อยที่สุด 10 นาที ใช้เวลามากที่สุด 120 นาที ปัญหาที่นำมาคือ อาการเจ็บป่วยทางกาย ร้อยละ 44.7 รองลงมาคืออาการทางสุขภาพจิต ร้อยละ 35.0 ส่วนปัญหาที่แท้จริงคือ ปัญหาครอบครัว ร้อยละ 43.9 รองลงมาคือ ปัญหาทางจิต ร้อยละ 12.6 การช่วยเหลือที่ผู้มารับบริการได้รับ ส่วนใหญ่ได้แนวทางในการแก้ปัญหาหา ร้อยละ 71.5 รอลงมาได้รับข้อมูล คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ร้อยละ 5.7 ผู้ที่ไม่ได้แนวทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากผู้รับบริการไม่ยอมรับปัญหาของตนเองเพราะมีอาการทางจิต สภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะแก้ปัญหา จากการสำรวจ ความต้องการพัฒนาความรู้ของผู้ให้บริการปรึกษา จำนวน 20 ราย พบว่าความรู้ที่ต้องการพัฒนาอันดับ 1 เรื่องการให้การปรึกษาเรื่องเพศ อันดับ 2 การให้การปรึกษาครอบครัว อันดับ 3 การให้การปรึกษาผู้ติดสารเสพติด ข้อเสนอแนะ ผู้มารับบริการจะมีหลายปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับความเจ็บป่วย การให้บริการปรึกษาทำให้ผู้มารับบริการได้เข้าใจปัญหาของตนเองมากขึ้น และมีแนวทางในการแก้ปัญหา ดังนั้นควรให้ 1. ผู้ให้บริการปรึกษาควรจะมีการพัฒนาตนเองทางด้านทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้การปรึกษาครอบครัว เพื่อช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพต่อไป 2. ควรศึกษาถึงความต้องการและความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อการบริการที่ได้รับ เพื่อจะได้นำผลมาพัฒนางานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

Keywords: การให้บริการ, ปรึกษา, ให้การปรึกษา, หน่วยงานแพทย์ทางเลือก, สุขภาพจิต, คลินิกให้การปรึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Code: 000000118

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -