ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สกาวรัตน์ พวงลัดดา

ชื่อเรื่อง/Title: การปรับพฤติกรรมทางปัญญา : กรณีศึกษา

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 166

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ในบุคคลที่มีอาการซึมเศร้ามักจะมีลักษณะของการคิดในทางลบ เช่น มองตนเอง มองคนอื่น และมองอนาคตของตนเองในทางลบทั้งสิ้น ซึ่งยิ่งเขามีอาการซึมเศร้ามากเท่าไร ความคิดเช่นนี้ก็จะครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้น การปรับพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive Behavior Therapy : CBT) มีแนวคิดว่าความคิดความเชื่ออารมณ์ความรู้สึกและพฤติกรรมการแสดงออกมีความสัมพันธ์กัน เป็นการช่วยเหลือที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของบุคคล เนื่องจากความเศร้าที่เกิดขึ้น ทำให้เขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การใช้วิธีการของการปรับเปลี่ยนความคิดจะช่วยให้คนไข้คิดอย่างมีเหตุผล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หายจากอาการเศร้า และสามารถใช้วิธีการนี้ในการปรับตัวในชีวิตประจำวันต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรับพฤติกรรมทางปัญหาต่ออาการเศร้าของผู้ป่วย วิธีการศึกษา ศึกษาจากกรณีศึกษา 1 ราย นัดผู้ป่วยทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนในการปรับพฤติกรรมทางปัญญาดังนี้ 1. สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ 2. สำรวจปัญหา ดูว่าผู้ป่วยเหมาะสมที่จะใช้การรักษาแบบการปรับพฤติกรรมทางปัญญาได้หรือไม่ หลังจากนั้นใช้แบบประเมินอาการเศร้า DI-Beck เพื่อประเมินอาการเศร้าก่อนการปรับพฤติกรรมทางปัญญา 3. ดำเนินการปรับพฤติกรรมทางปัญญา โดยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดความเชื่อ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรม ชี้ประเด็นให้เห็นว่าความคิดในกางลบก่อให้เกิดผลต่ออารมณ์เศร้าและสิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการค้นหาเหตุผลที่เป็นไปได้ในความจริงมาแทนที่ (ยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น 4. มอบหมายการบ้านให้ผู้ป่วยไปทำคือให้บันทึกความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในการพบกันครั้งแรก ต่อมาในการพบกันครั้งที่ 2-5 ให้บันทึกความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นและเมือหาเหตุผลอื่นที่เป็นจริงได้มาแทนให้ตรวจสอบความรู้สึกที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง 5. ในการพบกัยครั้งที่ 6 ก่อน ยุติบริการได้ให้ผู้ป่วยทำแบบประเมิน DI-Beck เพื่อประเมินผลการปรับพฤติกรรมทางปัญญา สรุปผลการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีอาการเศร้าดีขึ้นกว่าก่อนการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ช่วยให้คิดอะไรไปในทางบวกได้มากขึ้น มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการคิดในทางลบของตนเอง

Keywords: การปรับพฤติกรรมทางปัญญา, พฤติกรรม, ปรับพฤติกรรม, ซึมเศร้า, เศร้า, depress, depression, การพยาบาล,ผู้ป่วยอาการซึมเศร้า, การพยาบาลผู้ป่วยอาการซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000248

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -