ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อภิชัย มงคล

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินโครงการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาภาวะซึมเศร้า และการเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 167-168

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การศึกษานี้เป็นผลการประเมินโครงการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาภาวะซึมเศร้า และการเสื่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ของกรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2545 ซึ่งมี 33 จังหวัด เข้าร่วมโครงการ โครงการนี้มีหลักการดำเนินการดำเนินงานที่สำคัญคือ การพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ ครูและผู้นำชุมชนให้สามารถตรวจคัดกรองและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น และการให้ความรู้เรื่องนี้ทางโทรทัศน์ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของโครงการในด้านต่างๆ ได้แก่ 1. การพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ 2. ความพึงพพอใจของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 3. การได้รับชมรายการทางโทรทัศน์ของโครงการ 4. ความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการดำเนินงานโครงการในจังหวัดของตน วิธีการศึกษา ชนิดของการศึกษาเชิงพรรณนา ตัวอย่างได้แก่ 1. สถานบริการสุขภาพทุกระดับ ใน 9 จัหงวัดตัวอย่าง 2. ผู้มารับบริการ ณ สถานบริการทุกระดับ และมีผลการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เป็นบวก รวม 2,580 ราย จาก 17 จัหงวัด 3. ประชาชนทั่วไป ในเขตมืองและเขตชนบท ใน 9 จังหวัดตัวอย่าง จำนวน 1,400 ราย วิธีเก็บข้อมูล 1. ใช้แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ 3. เครื่องวัดอัตราการรับชมรายการโทรทัศน์ ตัวแปรสำคัญ ได้แก่ 1. การจัดบริการให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต 2. การใช้แบบ คัดกรองภาวะซึมเศร้าฯ 3. ความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของผู้ป่วย 4. การได้ชมรายการโทรทัศน์ของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาจามชนยิดของตัวแปร ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการศึกษา พบว่าในด้านการพัฒนาบริการ สถานบริการสุขภาพร้อยละ 46 มีการจัดบริการให้คำปรึกษาทางจิตเวช และร้อยละ 52 มีการใช้แบบประเมินเพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 74 เคยได้รับการอบรมเรื่องการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้บริการส่วนใหญ่พึงพอใจในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 51 มีจำนวน ร้อยละ 28 ที่พึงพอใจในการดำเนินงานโครงการในจังหวัดจองตนในระดับมากถึงมากที่สุด และเสนอให้มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องทุกปี วิจารณ์และสรุป ในภาพรวมพบว่าโครงการประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาบริการสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ และเห็นว่าตนได้รับคำแนะนำอย่างเพียงพอ แต่มีจำนวนสถานบริการเพียงประมาณครึ่งหนึ่งที่มีการพัฒนางานบริการ แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามเกณฑ์และประชาชนทั่วไป น้อยกว่าร้อยละ 1 ที่เคยได้รับชมรายการทางโทรทัศน์ของโครงการฯ จึงเป็นประเด็นที่ควรมีการพิจารณาปรับปรุงแบบการดำเนินงาน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

Keywords: ภาวะซึมเศร้า, เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, ซึมเศร้า, การฆ่าตัวตาย, depress, depression, suicide risk, suicide

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000249

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -