ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์

ชื่อเรื่อง/Title: การรักษาผู้ป่วยออทิสติกด้วยวิธีฝังเข็ม

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 173

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ออทิสติด และโรคอื่นๆ ในกลุ่ม เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาอยู่ที่การกระตุ้น และฟื้นฟูพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่น การพูด การรับรู้ และการเรียน ให้ดีขึ้น จนใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด และลด/หรือจำกัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผสมผสานการรักษาในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน การรักษาเหล่านั้นได้แก่ การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม การฝึกพูด การกระตุ้นพัฒนาการ และการฝึกอาชีพ การจัดการเรียน การสอนที่เหมาะสม การช่วยเหลือครอบครัว และการรักษาด้วยยา มีผู้ป่วยหลายรายมีผลการรักษาดีขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่มารับการรักษาแล้วมีผลการรักษาไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ผู้ศึกษาจึงได้นำวิธีการฝังเข็มที่ศีรษะมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์ ศึกษาผลของการฝังเข็มที่ศีรษะในผู้ป่วยออทิสติก ที่มารับการรักษา ที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กภาคเหนือ ขอบเขตการศึกษา ศึกษาผลการรักษาของผู้ป่วยออทิสติกที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มที่ศีรษะตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543-30 กันยายน 2544 ระเบียบวิธีศึกษา ผู้ป่วยออทิสติก ที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มที่ศีรษะ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2543-30 กันยายน 2544 จำนวน 24 คน โดยผู้ป่วยทุกรายเคยได้รับการรักษาด้วย วิธีผสมผสานตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ผลการรักษาไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ผู้ปกครองจะได้รับทราบถึงวิธีการรักษาด้วยการฝังเข็ม ทราบถึงข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงของการรักษา และผู้ปกครองต้องยินยอมให้ผู้ป่วยรับการรักษาด้วยการฝังเข็ม ผลการรักษา ผู้ป่วย 24 คน อายุ2.6-11.5 ปี (อายุเฉลี่ย 6.2 ปี) ผู้ป่วย 2 คน ไม่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 22 คน ผลการรักษาประเมินโดยใช้ Developmental Screening Inventory (DSI) และการประเมินพฤติกรรมโดยพยาบาล และผู้ปกครอง ซึ่งผลอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงดีมาก ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ในการพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของผู้ป่วยทั้ง 22 คน สรุป การฝังเข็มที่ศีรษะช่วยกระตุ้นพัฒนาการในผู้ป่วยเด็กออทิสติก แม้ว่าจะเป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บ และใช้เวลานาน ถ้าผู้รักษาได้ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งผู้ปกครองก่อนเข้ารับการรักษาก็จะได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วย และผู้ปกครอง ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษา ฉะนั้นการฝังเข็มที่ศีรษะน่าจะเป็นการรักษาผสมผสานอีกอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยออทิสติก

Keywords: ีออทิสติก, ฝังเข็ม, การรักษาผู้ป่วยออทิสติกด้วยวิธีฝังเข็ม, autistic treatment, puncture, autism, child psychiatry, ออทิสติก, จิตเวชเด็ก, เด็ก, autistic, autism, child psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000252

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -