ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ประคอง นาโพนทัน

ชื่อเรื่อง/Title: การให้ความรู้ผู้ป่วยจิตเภทหญิงในการจัดการกับภาวะหูแว่วด้วยตนเอง

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 179

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเภทมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหูแว่ว และสามารถจัดการกับภาวะหูแว่วได้อย่างเหมาะสม ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังการสอนสูงกว่าค่าคะแนนความรู้ก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลการบันทึกจำนวนครั้งของการเกิดหูแว่วใน 1 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 53.33 มีจำนวนครั้งของการเกิดหูแว่วลดลง ร้อยละ 26.67 มีหูแว่วหายไป และร้อยละ 20 ยังมีหูแว่วเท่าเดิม ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยทีละราย ทุก 2 วัน เกี่ยวกับจำนวนครั้งที่เกิดหูแว่ว วิธีการจัดการ และความรู้สึก เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ (3 ครั้ง) พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 6 คน ที่ทำตามที่สอนสม่ำเสมอ เหตุผลที่ทำตามเพราะอยากให้หูแว่วหายไป ไม่เคยรู้วิธีการเหล่านี้ มาก่อนเลย อยากลองทำดู ขณะทำรู้สึกดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ก็ทำต่อเนื่องจนครบ 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยจำนวน 4 คน ทำไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากช่วยแรกที่ทำยังไม่ครบ 1 สัปดาห์ มีหูแว่วหายไป และบางคนบอกว่าขี้เกียจเคยชินกับหูแว่วเป็นเวลานานทนได้ ผู้ป่วยจำนวน 4 คน ทำไม่สม่ำเสมอ เหตุผลเพราะไม่สะดวกที่จะบันทึก จำเองก็ได้มีผู้ป่วย 1 คนที่ไม่ทำตาม เพราะมีความรู้สึกลังเลระหว่างอยากให้หูแว่วหายไป และยังอยากมีหูแว่ว เพราะบางครั้งรู้สึกพอใจกับหูแว่ว คิดว่าตนเองวิเศษเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งจากการติดตามผลวิธีการที่ผู้ป่วยเลือกปฏิบัติ เมื่อมีหุแว่วมากที่สุดคือคุยกับเพื่อน (ร้อยละ 28.89) รองลงมาคือ ช่วยงานตึก (ร้อยละ 26.67) เข้ากลุ่มกิจกรรม (ร้อยละ 20) ดูโทรทัศน์ (ร้อยละ 13.33) และฟังเพลง (ร้อยละ 11.11)

Keywords: ภาวะหูแว่ว, หูแว่ว, ผู้ป่วยจิตเภท, จิตเภท, โรคจิต, อาการหูแว่ว, hallucination, schizophrenia, schizo

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000257

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -