ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เกษม ตั้งเกษมสำราญ

ชื่อเรื่อง/Title: จิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกประสานมือกันสร้างสุขภาพจิตที่ดีในชุมชน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 100-101. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

จิตสังคมบำบัดเป็นโปแกรมการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกด้วยระบบการบำบัดรักษาทางด้านร่างกาย จิตใจ และปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมของผู้ป่วยโดยประยุกต์โปรแกรมแมทริกซ์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งโปรแกรมนี้ใช้บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ได้ผลดีใช้เวลาในการบำบัด 4 เดือน โดยผู้ป่วยต้องมาเข้ากลุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง กลุ่มครอบครัวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปัจจุบันยาบ้าเป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงและการแพร่ระบาดมากขึ้นยากที่จะควบคุมได้ สารตัวหลักคือ เมทแอมเฟตามีน ( methaphetamine) ซึ่งยิ่งมีฤทธิ์เสพติดสูงส่งผล ให้เกิดการติดยาได้ง่าย และการได้รับเมทแอมเฟตามีนขนาดสูงหรือรับเป็นระยะเวลานานเป็นสาเหตุให้เกิดอาการทางจิตได้ ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีนเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากรายงานของผู้รับการบำบัดรักษาในเขตอำเภอทองแสนขัน จำนวน 233 ราย พบผู้ป่วยจิตเวชจากเมทแอมเฟตามีน จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.29 แม้จะเข้ารับการบำบัดจนอาการดีขึ้นแก่ก็ไม่หายขาด ต้องเป็นภาระให้ครอบครัวดูแล ประเทศชาติต้องเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น และที่สำคัญเกิดประชากรที่ด้อยคุณภาพ สรปุผลการดำเนินงาน ผู้เข้ารับการบำบัดทั้งสิ้น 233 คน เป็นค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 9 คน ให้คำปรึกษาในชุมชน 22 คน จิตสังคมบำบัดในโรงเรียน 26 คน จิตสังคมบำบัดกลุ่มเบาบาง 35 คน กลุ่มปานกลาง 55 คน และกลุ่มรุนแรง 86 คน บำบัดครบ 4 เดือน ตามโปรแกรม 148 คน ไม่กลับเสพซ้ำ 148 คน เสียชีวิต (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) 1 คน ส่งต่อโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 1 คน อยู่ระหว่างบำบัด 83 คน ผลการติดตามครั้งแรกยังไม่พบการเสพซ้ำ 148 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ข้อเสนอแนะ 1. เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทราบนโยบายและตระหนักถึงปัญหาของยาเสพติดพร้อมจะแก้ปัญหาร่วมกัน 2. ต้องมีการประสานงาน และสร้างเครือข่ายในทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 3. สร้างจิตสำนึกให้ชุมชน และครอบครัว ตระหนักถึงปัญหายาเสพติด และให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง 4. ทีมผู้ให้การบำบัดและรักษาต้องมีความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ตลอดเวลา 5. ปรับเปลี่ยนกลวิธีในการดำเนินงานด้านการบำบัดให้เหมาะสมกับปัญหาที่พบ

Keywords: โปรแกรมจิตสังคมบำบัด, จิตสังคม, ผู้ติดยาเสพติด, สารเสพติด, ยาบ้า, เมทแอมเฟตามีน, ผู้ป่วยจิตเวช, โรคจิต, ค่าย, ค่ายยาเสพติด, matrix, metamphetamine,amphetamine

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

Code: 00000012

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -