ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุจิมนต์ พรหมประดิษฐ์

ชื่อเรื่อง/Title: สภาวะทันตสุขภาพของผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญา พ.ศ 2544

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 188-189

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการทราบสภาวะโรคฟันผุและความจำเป็นในการรักษาโรคฟันผุ สภาวะโรคปริทันต์ และสภาวะช่องปากที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูสภาพช่องปาก ของผู้ป่วยจิตเวชในแต่ละกลุ่มอายุ สรุปผลการศึกษา การสำรวจครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยจำนวน 785 คน เป็นเพศชายร้อยละ 56.9 เพศหญิงร้อยละ 43.1 แบ่งเป็น 5 กลุ่มอายุได้แก่กลุ่มอายุ 17-19 ปี 20-34 ปี 35-44 ปี 45-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 3.3, 33.9, 28.8, 23.9 และ 10.1 ตามลำดับ 1. สภาวะโรคฟันผุและความจำเป็นในการรักษา พบผู้ป่วยเป็นโรคฟันผู้ร้อยละ 80.1 เป็นฟันผุที่ยังสามารถรักษาได้โดยการอุดร้อยละ 61.0 ครอบฟันร้อยละ 0.5 และรักษารากฟันร้อยละ 6.0 เป็นฟันผุที่ไม่สามารถเก็บไว้ได้ต้องถอน ร้อยละ 63.1 ซึ่งความจำเป็นของความต้องการการรักษาโรคฟันผุของผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 17-19 ปี และ20-34 ปี จะเป็นการอุดฟันมากกว่าถอนฟัน ค่าเฉลี่ยของฟันที่ต้องอุด:ถอนเท่ากับ 2:0:4 และ 2:3:1.6 ซี่ต่อคนตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มอายุ 35-44 ปี, 45-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป จะเป็นการถอนฟันมากกว่าการอุดฟัน ค่าเฉลี่ยของฟันที่ต้องอุด : ถอนเท่ากับ 2.3:2.5 , 1.4:2.8 และ 0.7:3 ซี่ต่อคนตามลำดับ 2. สภาวะโรคปริทันต์ ผู้ป่วยที่มีสภาวะปริทันต์ปกติมีเพียงร้อยละ 3.4 พบภาวะเหงือกมีเลือดออกร้อยละ10.2 มีหินน้ำลายร้อยละ 70.4 และเป็นโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 15.9 โดยในกลุ่มอายุ 17-19 ปี พบมีหินน้ำลายร้อยละ 73 ไม่พบโรคปริทันต์อักเสบ กลุ่มอายุ 20-34 ปี พบมีหินน้ำลายร้อยละ 78.8 และพบโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 2.7 กลุ่มอายุ 35-44 ปีพบร้อยละ 73.9 และ 16 ตามลำดับ กลุ่มอายุ 45-59 ปีพบร้อยละ 57.5 และ27.7 ตามลำดับ และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปพบร้อยละ 46.9 และ44.2 ตามลำดับ 3. สภาวะช่องปากที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูสภาพ พบผู้ป่วยเริ่มไส่ฟันปลอมบางส่วนร้อยละ 3.6 และฟันปลอมทั้งปากร้อยละ 2.0 ส่วนใหญ่เป็นการใส่เฉพาะขากรรไกรบน ในขณะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องทำฟันปลอมบางส่วนมีถึงร้อยละ 60.1 พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี รองลงมาได้แก่ในกลุ่มอายุ 35-44 ปี ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องทำฟันปลอมทั้งปากมีร้อยละ 13.3 โดยต้องทำฟันปลอมทั้งปากในขากรรไกรบนและล่างมีร้อยละ 6.5 และต้องทำฟันปลอมทั้งปากเพียงกรรไกรบนหรือขากรรไกรล่างร้อยละ 6.8 ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป

Keywords: ทันตกรรม, ทันตสุขภาพ, ผู้ป่วยจิตเวช, ฟันผุ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000265

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -