ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชนวน สัมปทาณรักษ์

ชื่อเรื่อง/Title: งานบริการสุขภาพจิตในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตในปี 2543-2546

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2 สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546. หน้า 232. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การให้บริการผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดนับเป็นกลุ่มงานที่มีปริมาณงานเป็นอันดับ 3-4 ในโรงพยาบาล การให้บริการผู้ป่วยสารเสพติด มุ่งเน้นกระบวนการ D-MAN Clinic (คลินิกคืนคนดีสู่สังคม) ผ่าน 3 กระบวนการ คือ D-TOX, D-BRAIN หรือล้างพิษ ล้างใจ ล้างสมอง การให้บริการผู้ป่วยจิตเวชมีการให้ Card Hptline ในผู้ป่วย suicide (ฆ่าตัวตาย) เพื่อลดอัตราการทำซ้ำ มีคลินิกจิตเวชเด็กและคลินิกญาติเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในวันพุธเช้า เพื่อเป็นสวัสดิการเจ้าหน้าที่ ทั้งยังดำเนินการต่อให้มีคลินิกสำหรับเพื่อนข้าราชการ (หรือญาติ) ในวันพุธเช้าอีกด้วย สำหรับผู้ป่วยเน้นการเฝ้าระวังและป้องกันอาการทางจิต และสมองเสื่อมจากภาวะหยุดสุรา โดยอนุญาตให้พยาบาลสามารถ Consult จิตแพทย์ได้โดยตรง (นำแนวทางมาจากโรงพยาบาลระยอง นพ. ปราโมทย์ ชูดำ) มีการให้ Vitamin B1 เพื่อป้องกันปัญหาการเกิด Irreversibile damage ของ Brain ที่ทำให้เกิด Dementia และ Wernicks-Korsakoff ตามมา มีการมอบกิตติกรรมประกาศของที่ระลึกแก่วอร์ดที่จัดบอร์ดมีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต มีใบบันทึก อาการที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยให้ญาติกรอกเพื่อแพทย์จะได้รู้ประวัติที่ครบถ้วนขึ้นญาติมีโอกาสระบายความรู้สึก ในใบนั้นได้ สำหรับผู้ป่วยนอก (OPD) มีการจัดตารางการนัดผู้ป่วยเพื่อลงจำนวนนัดตามวันให้เหมาะสม โดยมีใบนัดผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำงานประสานกันทั้งยังทำใบเหตุผล การขาดนัดให้ผู้ป่วยหรือญาติกรอก เพื่อการ Re-education ถึงความสำคัญของการมาตามนัด และการรับประทานยาเพื่อการบำบัดรักษาต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงกระบวนการเหล่านี้ และมาตามนัดทุกเดือนโดยมีอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 80 ขึ้นไป กิจกรรมอื่น ได้แก่ วิทยากรค่ายชุมชนบำบัดสารเสพติดให้คำแนะนำการดูแลสภาพจิตใจ การจัดกิจกรรมตามโครงการพ่อแม่สัมพันธ์ทำแผนร่วมกับทางจังหวัด โดยผู้ว่าราชการ CEO ให้การสนับสนุน โดยมี 3 ระยะคือ 1. เวทีพ่อแม่ 2. พ่อแม่สัมพันธ์ 3. พ่อแม่ Superstar มีกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนร่วมกับทีมสาธารณสุขโดยมีด้านสุขภาพจิตด้วย มีคลินิกคลายเครียด โดยได้รับเงินสนับสนุนมาจากสมาคมสตรีธุรกิจภูเก็ต เตรียมจัดตั้งคลินิกเด็ก Autistic คลินิกกลุ่มบำบัดและกลุ่มนันทนาการ อาชีวบำบัด ดนตรีบำบัด ออกสถานีอนามัยเพื่อเตรียมจัดสุขภาพจิตชุมชนในอนาคตทีสถานีอนามัยและในชุมชน กิจกรรม โรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กร

Keywords: สุขภาพจิต, โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต, บริการผู้ป่วยจิตเวช ยาเสพติด, คลินิกจิตเวช,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

Code: 000000120

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -