ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ภูมินทร์ ชลาชีวะ พ.บ.

ชื่อเรื่อง/Title: กรณีศึกษาผู้ป่วยโรควิลสันที่มาด้วยอาการคล้ายโรคจิต

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2545 สุขภาพจิตกับยาเสพติด หน้า 209

รายละเอียด / Details:

โรควิลสัน (Wilson'sDisease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการเมตาโบลิสม์ของทองแดงพบการทำลายระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะในส่วน Basal ganglia โดยมีทองแดงไปสะสม ผู้ป่วยมักมาโรงพยาบาลด้วยอาการโรคตับเรื้อรังหรือโรคทางระบบประสาท อาจเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหว เชื่องช้า, เฉยเมย ดูคล้ายอาการโรคจิต ดังในการรายงานผู้ป่วยครั้งนี้ ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 30 ปี มีอาการเหม่อลอย ซึมเฉย อ่อนเพลีย พูดน้อย คิดช้า ไม่เข้าสังคม ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 2 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ครั้งแรก ตรวจร่างกายพบว่าไม่สนใจตนเอง อารมณ์เรียบเฉย การตัดสินใจและการหยั่งรู้ตนเองลดลง ได้รับการวินิจฉัยเป็น Schizophreniformdisorder ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต แต่ไม่ดีขึ้น มีอาการตัวแข็งเกร็ง เดินซอยเท้า ง่วงซึม มาพบแพทย์อีก 3 ครั้ง ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจิตเภทร่วมกับ Extrapyramidal Symptom ได้ปรับการรักษา แต่ผู้ป่วยไม่ได้ติดตามการรักษาจนกระทั่ง 8 เดือนหลังมาตรวจครั้งแรก มีอาการตัวเกร็งมากจนเดินไม่ได้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหล กลืนลำบากจึงได้รับไว้ในโรงพยาบาล ตรวจร่างกายพบว่าสัญญาณชีพปกติ ตรวจร่างกายทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจระบบประสาทพบมี Generalized Dystonia, Cogwheel rigidity, hypereflexia, dysphapia dysphapia ตรวจตาพบมี Kayser fleischer ring ซึ่งได้รับการตรวจยืนยันโดย Silt Iamp ไม่พบลักษณะของโรคตับเรื้อรัง เจาะเลือดพบมีระดับ Ceruloplasmin ต่ำและระดับทองแดงในปัสสาวะสูงขึ้น จึงได้รับการวินิจฉัยเป็นโรควิลสัน ได้รับการรักษาด้วย D.Penicillamine 1 gm/day, ยาลดเกร็ง (levodopa) และให้การรักษาประคับประคองอื่นๆ ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม หลังจากให้การรักษาเป็นเวลา 1 เดือน ผู้ป่วยกลืนได้ดีขึ้น อาการเกร็งลดลง แต่ยังช่วยเหลือตนเองได้น้อย

Keywords: โรควิลสัน, อาการคล้ายโรคจิต, Wilson's Disease, โรคทางระบบประสาท, โรคจิต, กรณีศึกษา, neurology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000283

ISSN/ISBN: 974-90572-3-6

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -