ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธิดารัตน์ คณึงเพียร

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่นในโรงเรียน

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544 ณ. โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯหน้า34-35

รายละเอียด / Details:

จากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งหากว่าปรับตัวไม่ได้อาจจะมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวคณะผู้ดำเนินงานจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตให้แก่วัยรุ่นในโรงเรียนขึ้นโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540-2544) ในอันที่จะลดจำนวนผู้ป่วยทางจิตให้เหลือร้อยละ 25 และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน วิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชในหัวข้อการพยาบาลจิตเวชชุมชน โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่นในโรงรียน 2. เพื่อให้วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต 3. เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต วิธีการ เตรียมการ เลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนในโรงเรียน สุรวิทยาคาร และโรงเรียนวีรวัฒน์โยธินติดต่อประสานงานกับพื้นที่เป้าหมาย และนักศึกษาที่รับผิดชอบเพื่อเขียนโครงการ ดำเนินการ ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตวัยรุ่นในโรงเรียนก่อนดำเนินโครงการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ดำเนินไว้ ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมบนเวที บอร์ดนิทรรศการ มุมคลายเครียด ได้แก่ นวดคลายเครียด เทปคลายเครียด ทำนายดวงชะตาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินความเครียดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินผล ประเมินจากแบบสำรวจความคิดของผู้เข้าร่วมโครงการประเมินจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตก่อนและหลังดำเนินโครงการ สังเกตความสนใจและการร่วมของนักศึกษาผู้ดำเนินโครงการ และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผลที่ได้จากการทำโครงการ ประเมินผลจากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตก่อนและหลังทำโครงการโดยใช้สถิติ T-test ดังผลดังนี้ 1. ความคิดเห็นในการทำโครงการพบว่านักเรียนทั้ง 2 แห่งประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5 และโรงเรียนสุรวิทยาคารค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 โดยที่โรงเรียนวีรวัฒน์โยธินมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากสุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และประทับใจในกิจกรรมบนเวทีมากที่สุดร้อยละ 45 และประทับใจบอร์ดนิทรรศการน้อยที่สุดร้อยละ 13 ส่วนนักเรียนโรงเรียนสุรวิทยาคมมีความคิดเห็นในหัวข้อได้รับความสนุกสนานและความเป็นกันเองระหว่างผู้ดำเนินโครงการและผู้ร่วมโครงการมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 รองลงมาคือได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตมากขึ้นและความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 และมีความประทับใจเทปคลายเครียดมากที่สุด ร้อยละ 21.57 รองลงมาคือกิจกรรมบนเวที ร้อยละ 20.91 ส่วนนวดคลายเครียดน้อยที่สุดร้อยละ 8.50 2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตพบว่านักเรียนโรงเรียนวีรวัฒน์โยธินมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตก่อนและหลังทำโครงการไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นชั้นปีพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตก่อนและหลังทำโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5ทั้งนี้เนื่องจากจัดกิจกรรมโดยเป็นระบบเปิด นักเรียนจำนวนมากไม่สามารถควบคุมกลุ่มเป้าหมายได้ แต่นักเรียน ม.2 เป็นกลุ่มที่เข้ารับกิจกรรมตลอด ส่วนโรงเรียนสุรวิทยาคารพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตก่อนและหลังโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 ทั้งนี้เนื่องจากเป็นนักเรียนได้เข้าร่วมโครงการตลอดเวลา

Keywords: สุขภาพจิต, วัยรุ่น, ปัญหาสุขภาพจิต, ส่งเสริมป้องกัน, mental health, mental health promotion, adolescence

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000286

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -