ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นวลละเอียด เนื้ออ่อน และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการสุขภาพจิตครอบครัว ครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็งด้วยพลังแห่งความรัก

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544. หน้า 50

รายละเอียด / Details:

-ด้วยความเจริญอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดของสังคมไทยจากอดีตจนถึง ปัจจุบันเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวสังคมไทยเปลี่ยนไป สมาชิกในครอบครัวขาดความรัก ความเข้าใจ ขาดการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา จากปัญหาดังกล่าวทำให้คลินิคสุขภาพจิตของโรงพยาบาลวารินชำราบต้องทำงานให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะเครียด ติดสารเสพติด เด็กหนีเรียน ปัญหาครอบครัวอื่นๆเฉลี่ยรายเดือนประมาณ 450 ถึง 500 ราย ซึ่งเป็นงานที่หนักสำหรับบุคลากรในคลินิกสุขภาพจิต เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว ทีมงานจึงได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้น เพื่อสร้างพลังความเข้มแข็งและอบอุ่นให้แก่รากของสังคม คือ ครอบครัว ให้มีแต่ความรัก ความอบอุ่นความเข้าใจ ซึ่งทีมงานเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวป้องกันและลดปัญหาครอบครัวและสังคมอย่างถาวรได้ -โดยวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวและช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ได้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จตามที่เป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งมีวิธีการ คือ 1. ทีมงานคิดค้นเทคโนโลยี ด้วยใช้หลักการสื่อสารการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การแสดงความรัก ความห่วงใย บรรยากาศของความอบอุ่นของครอบครัว และการแสดงความกตัญญูต่อผู้ปกครอง 2. ทดลองใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3. ประเมินผลของกระบวนการการใช้เทคโนโลยี 4. ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี 5. สรุปผลการดำเนินงาน - ผลที่ได้จากการประเมินผลกระบวนการจัดกิจกรรม พบว่า สมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสพูดคุยในสิ่งที่ตนเองไม่เคยได้เปิดเผย เกิดความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น รู้จักวิธีการสื่อสารเชิงบวกในระดับดีถึงดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80.00 และจากการดำเนินงานตลอด 4 รุ่น มีสมาชิก เข้าร่วมอบรม 90 คน มีสมาชิกที่เป็นวัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางบวก คือ เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกเสพยาเสพติด มีความตั้งใจเรียนมากขึ้น จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.56 และร้อยละ 100 ของสมาชิกที่เข้าร่วมอบรมต้องการให้มีการดำเนินงานกิจกรรมนี้สู่ชุมชนและโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

Keywords: สุขภาพจิต, สุขภาพจิตครอบครัว, ครอบครัว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000315

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -