ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กัลปังหา โชสิวสกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อบทบาทของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และทางสติปัญญาแก่บุตรปฐมวัย ในอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544. หน้า 55

รายละเอียด / Details:

รูปแบบการวิจัยกึ่งการทดลอง ศึกษาผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อบทบาทของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และทางสติปัญญาแก่บุตรปฐมวัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 31 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มทดลอง จำนวน 3 ครั้ง เรื่อง บทบาทของบิดา การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และพัฒนาการทางสติปัญญา และทักษะในการจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ถึง วันที่ 7 กรกฎาคม 2543 เวลา 9 สัปดาห์ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม 3 ครั้ง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 1 สัปดาห์และ 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และสถิติ Independent samples t-test เปรียบเทียบคะแนนความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการส่งเสริมพัฒนาการแก่บุตรทั้ง 2 ด้านของบิดาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent samples t-test และ paired t-test ผลการศึกษาพบว่าก่อนการทดลอง กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะทั่วไป ด้านกระชากรไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติต่อบทบาทของบิดาในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาแก่บุตรปฐมวัย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value‹<0.001), (p-value<<0.001) และ (p-value<<0.001) ตามลำดับ และพบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ(p-value<<0.001),(p-value<<0.001)และ (p-value<<0.001) ตามลำดับ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนทำให้บิดาที่มีบุตรวัยปฐมวัย มีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติที่สูงขึ้น ควรมีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมฝึกอบรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ บทบาทของบิดาและการส่งเสริมพัฒนาการแก่บุตรให้แก่บิดา เพื่อให้บิดาได้รับความรู้ เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติที่ดีต่อการทำหน้าที่ของบิดา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติต่อบุตรได้ เป็นการสร้างความรัก ความผูกพันที่ดีภายในครอบครัวระหว่างบิดาและบุตร ส่งเสริมสถานบันครอบครัวและช่วยพัฒนาให้เด็กไทยมีอารมณ์ที่สดชื่นแจ่มใส มีสติปัญญาที่ดีต่อไปในอนาคต

Keywords: พัฒนาการเด็ก, การเรียนแบบมีส่วนร่วม, จิตวิทยา, สุขภาพจิต, psychology

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000320

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -