ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อุทุมพร จามรมาน

ชื่อเรื่อง/Title: คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 18, ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน 2530, หน้า 1-23

รายละเอียด / Details:

การวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานคร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคำว่า "คุณภาพชีวิต" ให้ชัดเจนว่ามีความหมายครอบคลุมปัจจัยอะไรบ้าง การวัดคุณภาพชีวิตทำอย่างไรและคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ มีค่าต่ำสุดเท่าไร นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบค่าคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่อยู่ในเขตชั้นใน ชั้นกลางและชั้นนอก การรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์และสอบถามหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,023 ครอบครัว ในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต 7 ด้าน คือสังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สุขอนามัย จิตวิทยา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ บริการของรัฐและเอกชนและนันทนาการ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตทั้ง 7 ด้าน มีทั้งหมด 79 ตัว ได้ทำการวิเคราะห์ตัวประกอบ และคำนวณคะแนนตัวประกอบ ผลวิจัยปรุปได้ดังนี้ 1. คนกรุงเทพฯ โดยทั่วไปส่วนมากมีความเป็นอยู่แบบเป็นครอบครัวเดี่ยว ขนาดของครอบครัว 4-6 คน ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพฯอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ครอบครัวของคนกรุงเทพฯ เป็นครอบครัวที่มีสุขภาพแข็งแรงพอควร มีความสะดวกจากไฟฟ้า น้ำใช้และน้ำดื่ม ตลอดจนถนนและทางเท้า คนกรุงเทพฯมีความรักบ้านและรักงานที่ทำ คนกรุงเทพฯมองกรุงเทพฯ ในทางที่ค่อนข้างดี เช่น มองว่าคนกรุงเทพฯ เป็นคนรวย ชีวิตในกรุงมีความรื่นรมย์ แม้ว่าจะมีความปลอดภัยไม่มากนักและมีการแข่งขันกันสูงก็ตาม คนกรุงเทพฯ หาเงินคล่องแต่เปลี่ยนงานยาก คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีวิทยา โทรทัศน์ แต่ขาดโทรศัพท์บริการจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดอยู่ในสภาพดีพอควร 2. องค์ประกอบสำคัญของคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯทั้งหมด 10 ตัว คือ I ทัษนคติต่อการมีชีวิตในกรุงเทพฯ II ลักษณะความเป็นอยู่ III การเป็นเจ้าของ IV อาชีพหลัก V นันทนาการ VI บริการจากรัฐ VII การถือครองบ้านและที่ดิน VIII อาชีพรอง IX การใช้เวลาว่างที่บ้าน X สุขอนามัย 3. คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ มีค่า 13.13 หน่วย 4. เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ที่อาศัยอยู่ในเขตชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอก ปรากฎว่า คนกรุงเทพฯ ในเขตชั้นนอก มีค่าคุณภาพชีวิตสูงที่สุด รองลงมาคือ ในเขตชั้นใน และสุดท้าย ได้แก่ ในเขตชั้นกลาง 5. ค่าต่ำสุดของคุณภาพชีวิตคือ 3.512 หน่วย ซึ่งพิจารณาตัวแปรที่สำคัญๆ 9 ตัว คือ 1. การออกกำลังกาย 2. ช่วงเวลาที่ใช้ออกกำลังกาย 3. การพักผ่อน 4. ช่วงเวลาที่ใช้พักผ่อน 5. จำนวนวันที่ทำงานในหนึ่งสัปดาห์ 6. เวลาที่ใช้เดินทางไปทำงานในช่วงปกติ 7. เวลาที่ใช้เกินทางไปทำงานในช่วงจราจรติดขัด 8. การถือครองบ้านหรือที่อยู่อาศัย 9. การถือครองที่ดิน

Keywords: คุณภาพชีวิต, สุขภาพจิต, จิตวิทยา, กรุงเทพมหานคร

ปีที่เผยแพร่/Year: 2530

Address: ภาควิชาวิจัย คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Code: 00716

ISSN/ISBN: 0125-1422

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -