ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุจิตรา อุสาหะ

ชื่อเรื่อง/Title: บุคลิกภาพของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาที่หัวหน้างานประเมินว่าทำงานมีประสิทธิภาพดี

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 13, 25-27 สิงหาคม 2547, ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเพฯ, หน้า 122-123

รายละเอียด / Details:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา บุคลิกภาพของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาที่หัวหน้างานประเมินว่าทำงานมีประสิทธิภาพดี ความแตกต่างขององค์ประกอบบุคลิกภาพของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชที่ห้วหน้างานประเมินว่าทำงานมีประสิทธิภาพในระดับที่แตกต่างกัน รวมทั้งลักษณะทางประชากรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชจำนวน 164 คน เป็นเพศหญิง 84 คน เพศชาย 80 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้างาน ซึ่งเป็นเพศหญิงจำนวน 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิจัยซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเพศ อายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบบุคลิกภาพ 16PF (The sixteen personality factor questionnaire) ฟอร์ม A ส่วนที่ 3 เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยวิธีแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1. หัวหน้างานประเมินว่าผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช ทำงานมีประสิทธิภาพปานกลางและดี คิดเป็นร้อยละ 43.3 และ 56.7 ตามลำดับ 2. ผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชที่หัวน้างานประเมินว่าทำงานมีประสิทธิภาพดี 2.1 ประเมินภาพพจน์ของตนเองดีกว่าความเป็นจริง และด้อยกว่าความเป็นจริงในเกณฑ์ปานกลาง 2.2 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานองค์ประกอบบุคลิกภาพ A,B,E,F,G,H,I,L,O,Q1,Q2,Q3 และ Q4 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง หรือเหมือนคนส่วนใหญ่โดยทั่วไป ในขณะที่ M N มีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย 2.3 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานกลุ่มองค์ประกอบบุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน คือ extraversion, anxiety, tough poise, independent, control และ leadership อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ในขณะที่ adjustment และ creativity มีแนวโน้มต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางเล็กน้อย 3. ผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชที่หัวหน้างานประเมินว่าทำงานมีประสิทธิภาพปานกลางและดี มีองค์ประกอบบุคลิกภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชหญิงประเมินภาพพจน์ของตนเองดีกว่าความเป็นจริง และด้อยกว่าความเป็นจริง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานองค์ประกอบบุคลิกภาพ และกลุ่มองค์ประกอบบุคลิกภาพ H,L,Q1,Q2,Q3 tough poise, independent, adjustment และ leadership มากกว่าผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชชาย ส่วนผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชชายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานองค์ประกอบบุคลิกภาพ และกลุ่มองค์ประกอบบุคลิกภาพ B,I,M,Q4, และ anxiety มากกว่าผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชหญิง 5. เพศมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช โดย ผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชหญิงมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวชชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. อายุและระยะเวลาปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของผู้ช่วยเหลือคนไข้จิตเวช

Keywords: คนไข้จิตเวช, ผู้ช่วยเหลือคนไข้, ผู้ป่วยโรคจิต, จิตเวช, สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา, บุคลิกภาพ, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: กลุ่มงานจิตวิทยา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 1000107

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2547 สุขภาพจิตกับยาเสพติด

Download: -