ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กมลเนตร จิระประภูศักดิ์

ชื่อเรื่อง/Title: การเฝ้าระวังและติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ของยากันชักในผู้ป่วยเด็ก

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ครั้งที่ 2 "สาธารณสุขไทยในยุคเปิดเสรีทางการค้า" วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2547 ณ โรงแรมเดอะแอมบาสเดอร์, หน้า 154.

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังและหาอุบัติการณ์ของการเกิดพิษและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากันชักในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาโรคในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545-กันยายน 2546 มีผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยากันชักจำนวน 83 ราย เป็นผู้หญิง 46 ราย (ร้อยละ 55) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59) มีอายุอยู่ในช่วง 1-12 ปี ผู้ป่วยร้อยละ75 ได้รับยากันชักเพียงชนิดเดียว ในการควบคุมโรค ยากันชักที่ใช้มากที่สุดคือ Phenobarbital 68 ราย รองลงมาคือ Valproic acid, Phenytoin และ Carbamazepine ตามลำดับ พบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพียง 4 รายเท่านั้น โดยเกิดจาก Phenytoin 3 ราย Phenobarbital 1 ราย ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ส่วนยา Valproic acid และ Carbamazepine ไม่พบการไม่พึงประสงค์ ผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักกลุ่มนี้ได้ส่งตรวจวัดระดับยาในเลือดทั้งหมด 37 ครั้ง ผลของระดับยาในเลือดพบว่า ส่วนใหญ่ (24 ครั้ง) มีระดับยาต่ำกว่าระดับการรักษา ซึ่งแพทย์ได้เปลี่ยนแปลงการสั่งใช้ยา 16 ครั้ง และไม่เปลี่ยนแปลง 8 ครั้งเนื่องจากพบว่าทั้ง 8 ครั้ง ผู้ป่วยได้ยาไม่ครบหรือไม่ใช้ยาตามสั่ง ส่วนผลระดับยาที่สูงกว่าระดับการรักษา 2 ครั้ง แพทย์สั่งหยุดยาทันที และติดตามวัดระดับยาซ้ำจนผลระดับยาอยู่ในระดับการรักษา จึงเริ่มให้ผู้ป่วยได้รับยากันชักต่อ การศึกษานี้ พบปัญหาการได้ยาไม่ครบหรือไม่ใช้ยาตามสั่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาการชักของผู้ป่วยเด็กได้ จึงควรเน้นการให้คำแนะนำแก่ญาติผู้ป่วยที่มีหน้าที่ดูแลให้ยาเด็ก และติดตามผู้ป่วยเด็กทุกรายที่ใช้ยากันชักรวมทั้งวัดระดับยาในรายที่สงสัย เพื่อเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์

Keywords: ยากันชัก, ลมชัก, ยารักษาโรคลมชัก, ผู้ป่วยเด็ก, phenobarbital, carbamazepine, phenyltoin

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

Code: 100065

ISSN/ISBN: 974-92137-9-3

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการ

Download: -