ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วราภรณ์ ทิพย์สุวรรณกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ความคิดเห็นของพยาบาลฉุกเฉินต่อการให้ญาติอยู่กับผู้ป่วยขณะทำการช่วยฟื้นคืนชีพ.

แหล่งที่มา/Source: รามาธิบดีพยาบาลสาร,ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม 2546, หน้า 142-155.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลฉุกเฉินต่อการให้ญาติอยู่กับผู้ป่วยขณะทำการช่วยฟื้นคืนชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงาน/เคยปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลทั่วไปของรัฐ 17 แห่ง จำนวน 179 คน ผลการ วิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 81.0 คิดว่าญาติมีสิทธิที่จะขออยู่กับผู้ป่วยในขณะทำการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยญาติที่จะอยู่ด้วยควรจะเป็นบุคคลใกล้ชิดร้อยละ 95.0 คือ ญาติสายตรงหรือ คู่สมรส และคุณสมบัติของญาติจะต้องเป็นผู้มีสุขภาพดี ร้อยละ 82.1 คิดว่า ข้อดีของการให้ญาติอยู่ด้วยคือ ญาติได้เห็นความพยายามของเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วย รองลงมาร้อยละ 71.5 เป็นการตอบสนองความต้องการด้านกาย จิตสังคม และมิติจิตวิญญาณ ส่วนข้อเสียของการให้ญาติอยู่ด้วยร้อยละ 96.1 คิดว่าไม่สะดวกในการทำงาน จำนวนญาติที่เหมาะสมควรให้อยู่ด้วยร้อยละ 65.4 คิดว่าคือ 2 คน โดยระยะเวลาที่ควรให้อยู่ด้วยคือ 1-30 นาที สำหรับสถานที่ที่ควรจัดให้ญาติอยู่ด้วยร้อยละ 46.4 ตอบว่าควรเป็นนอกห้องช่วยฟื้นคืนชีพที่มองเห็น เหตุการณ์ได้ ร้อยละ 65.9 คิดว่าการอนุญาตควรมีการกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ควรจัดให้อยู่กับญาติขณะทำการช่วยฟื้นคืนชีพ ร้อยละ 58.6 กล่าวว่าควรเป็นพยาบาล ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยเน้นให้ตระหนักถึงสิทธิของผู้ป่วยและญาติ การเปิดเผยข้อมูล และการมีส่วนร่วมของญาติ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ ผู้ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินควรให้ความสนใจ และร่วมกันกำหนดรูปแบบของการช่วยฟื้นคืนชีพที่จะให้ญาติมีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการด้านกาย จิตสังคม และมิติจิตวิญญาณทั้งของผู้ป่วยและญาติ

Keywords: การให้ญาติอยู่กับผู้ป่วย, การช่วยฟื้นคืนชีพ, ความคิดเห็น, พยาบาลฉุกเฉิน, ญาติผู้ป่วย, สุขภาพจิต, บริการพยาบาล, พยาบาลฉุกเฉิน, กาย จิตสังคม, มิติจิตวิญญาณ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

Code: 100081

ISSN/ISBN: 0857-8052

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Abstract Journal.

Download: -