ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

แหล่งที่มา/Source: วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, ปีที่. 11, ฉบับที่. 3, กันยายน-ธันวาคม 2546. หน้า 46-68.

รายละเอียด / Details:

การวินิจฉัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิต และด้านอาจารย์ผู้สอน กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาลท 3) อำนาจการทำนายการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาลโดยใช้ปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิต และด้านอาจารย์ผู้สอนเป็นตัวทำนาย ประชากรเป้าหมายในการวิจัยคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ทั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ ในปีการศึกษา 2545 ของคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง 247 คน เลือก ตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย โดยเลือกตามสัดส่วนของนิสิต ทั้งสี่กลุ่มคือ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ตัวแปรอิสระได้แก่ ปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิต และด้านอาจารย์ผู้สอน ตัวแปรตามได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สัมประสิทธิ์แอลฟาความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .93, .83, .92 และ .75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สหสัมพันธ์อย่างง่าย สหสัมพันธ์พหุคูณ และการถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตทั้งสี่กลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง กล่าวคือสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มของแบบวัด นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.46, p‹.001) นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ย การคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงที่สุดระหว่างสี่กลุ่มการศึกษา ปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิตและด้านอาจารย์ผู้สอนมีความสัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีสัมประวสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .60 ตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์สูงได้แก่ พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ แรงจูงใจด้านการสนับสนุนจากบุคคลอื่น การใช้เวลาในกาเรียนและประสบการณ์ในการเรียน (t=.540,.269,.249 และ .247 ตามลำดับ p<.001) ในภาพรวมนั้นตัวแปรที่ทำนายการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ดีที่สุดคือ พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ (R=.54, p<.001) ตัวทำนายที่ดีถัดมาคือการใช้เวลาเรียนของนิสิต

Keywords: การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล, พฤติกรรม, จิตวิทยา,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Code: 100087

ISSN/ISBN: 0858-4338

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Abstract Journal.

Download: -