ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อภิชัย มงคลและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาและทดสอบดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับใหม่

แหล่งที่มา/Source: รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและทดสอบดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับใหม่

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์‹br>1) เพื่อตรวจสอบเครื่องมือเดิมที่ใช้ประเมินภาวะสุขภาพจิตในประเทศไทยและพัฒนาเครื่องมือฉบับใหม่ให้มีความสมบูรณ์ เหมาะสมในการนำไปใช้ทั่วประเทศ
2) เพื่อทดสอบเครื่องมือฉบับใหม่ในทุกภาคของประเทศไทยโดยการศึกษาความตรงตามเนื้อหาความตรงตามโครงสร้างและหาค่าปกติของเครื่องมือ และ
3) เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมทั้งฉบับสมบูรณ์และฉบับสั้น และทดสอบเครื่องมือทั้งสองฉบับ โดยการศึกษาความพ้อง (agreement study) ในการประเมินภาวะสุขภาพจิต ์
วิธีการศึกษา แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะๆที่ การศึกษาความตรงตามโครงสร้างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบ multi-stage sampling จากประชากรไทยได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,024 คน โดยแบ่งตามภาคเขตเมืองและเขตชนบท และ สถานภาพทางเศรษฐกิจ (จังหวัดที่มีรายได้ร่ำรวย ปานกลาง ยากจน) ระยะที่ 3 การศึกษาค่าปกติ ของ ประชากรไทย โดยใช้เครื่องมือฉบับนี้และสุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 2,404 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง เช่นเดียวกับระยะที่ 2 ค่าปกติของดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยจำแนกตามมิติ เพศ เขตเมือง เขตชนบท และภาคต่างๆ ของประเทศ สถิติที่ใช้ได้แก่ Factor analysis, kappa statistic และ Cronbach's alpha coefficient. ์
ผลการศึกษา ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับใหม่มี 2 ฉบับคือ ฉบับสมบูณณ์ (54 ข้อ) และฉบับสั้น (15 ข้อ) ประกอบด้วย 4 มิติ (สภาพจิตใจ สมรรถภาพของจิตใจ คุณภาพของจิตใจ ปัจจัยสนับสนุน) และ 15 มิติย่อย คะแนนของฉบับสมบูรณ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ สุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป (98 คะแนน หรือน้อยกว่า) ฉบับสั้นมี 15 ข้อ แบ่งคะแนนออกเป็น 3 กลุ่ม เช่นกันคือ สุขภาพจิต ดีกว่าคนทั่วไป (35-45) สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (28-34) สุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป (27 คะแนน หรือน้อยกว่า) นอกจากนี้คะแนนของ TMHI ยังแบ่งตาม มิติ เพศ แต่ละภาคของประเทศ เขตเมือง และเขตชนบท การศึกษาความพ้องในการประเมินสุขภาพจิต ระหว่างฉบับสมบูรณ์และฉบับสั้นพบว่า อยู่ในระดับเกือบดี (kappa statistics 0.63, p<0.001) ์
สรุป ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยเป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือในการประเมินสุขภาพจิตของประชากรไทย ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยทั้งฉบับสมบูรณ์และฉบับสั้นเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการนำไปใช้ควรส่งเสริมให้ทำการวิจัยต่อไป เพื่อพิจารณาว่าดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองผู้ป่วยทางคลินิกได้ด้วย.

Keywords: ดัชนีวัดสุขภาพจิตคนไทย, สุขภาพจิต, ดัชนี, เครื่องมือ, แบบทดสอบ, ภาวะสุขภาพจิต, ประเมินภาวะสุขภาพจิต, สภาพจิตใจ สมรรถภาพของจิตใจ คุณภาพของจิตใจ, การคัดกรองผู้ป่วยทางคลินิก, อภิชัย มงคล, , mental health indicator, test,

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 100090

ISSN/ISBN: 974-92301-3-2

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Original Article. รางวัลที่ 1 ด้านการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิต ในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ปี 2546

Download: Download รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ได้ที่นี่ค่ะPDF Format 2.01MB