ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิเชษฐ์ อุดมรัตน์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์, สุรชัย เกื้อศิริกุล

ชื่อเรื่อง/Title: โรคแพนิคที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2531 หน้าที่ 107-118

รายละเอียด / Details:

ได้ศึกษาผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์อย่างน้อยสองคนตรงกันว่าเป็นโรคแพนิคตามหลักเกณฑ์ของ DSM-III ณ คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 30 ราย เป็นชาย 13 ราย หญิง 17 ราย อายุระหว่าง 26-44 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว จบชั้นประถมศึกษาอาชีพรับราชการ ผู้ป่วยร้อยละ 76.6 มีอาการ panic attack มาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป ช่วงที่เป็นมากจะเกิด attack ไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน แต่ละครั้งเป็นนานไม่เกิน 30 นาที อาการที่พบมากที่สุด ขณะ attack คือใจสั่น (ร้อยละ 95.7) รองลงมาคือ เจ็บหรือแน่นหน้าอก และอาการมึนงง, วิงเวียน (ร้อยละ 86.7 เท่ากัน) ผู้ป่วยรู้สึกว่าอาการที่เกิดรุนแรงและมีผลรบกวนต่อการทำงาน ส่วนมากมีความกลัวอย่างชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงวัตถุหรือสถานการณ์ที่ทำให้หวาดกลัว ผู้ป่วยทุกรายเคยไปตรวจรักษากับแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์เฉพาะทางมาก่อน และได้รับยามาแล้ว โดยร้อยละ 43.3 เคยได้รับยาในกลุ่ม benzodiazepines มาก่อนแต่อาการยังไม่ดีขึ้น สำหรับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการนั้น พบว่าร้อยละ 43.3 มีอาการ panic attack เกิดขึ้นเอง นอกจากนี้ร้อยละ 53.4 มีประวัติของการถูกแยกจากพ่อหรือแม่หรือทั้งพ่อและแม่เมื่ออายุเฉลี่ย 9.7 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 16.7 บอกว่ามีบุคคลในครอบครัวที่มีอาการคล้ายกับตัวเอง จาก SCL-90 พบว่ามีความผิดปกติใน scale ของ Somatization และ Phobic anxiety อย่างเห็นได้ชัด สุดท้ายคณะผู้วิจัยได้เสนอให้มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคแพนิค ให้กับแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นได้ทราบกันแพร่หลายมากขึ้น และเสนอให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องโรคแพนิคในแง่มุมอื่นอีกต่อไป

Keywords: panic, panic attack, panic disorder, somatization, phobic anxiety, benzodiazepine, โรคแพนิค, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2531

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Code: 100313303216

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format