ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: มาโนช หล่อตระกูล

ชื่อเรื่อง/Title: แนวโน้มการฆ่าตัวตายในประเทศไทย:แง่มุมทางเพศและช่วงวัย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2541,67-83

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของคนไทยในช่วง 2 ทศวรรษหลัง โดยเน้นในแง่มุมของความแตกต่างทางเพศและช่วงวัย วิธีการศึกษา ข้อมูลในการศึกษาได้จากสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวบรวมสถิติจากมรณบัตรทั่วประเทศในแต่ละปี วิเคราะห์อัตราการฆ่าตัวตายระหว่าง พ.ศ. 2535-2539 โดยจำแนกตามเพศ และช่วงอายุ และวิธีการที่ใช้โดยจำแนกตามเพศและเปรียบเทียบพฤติกรรมการตายของประชากรในกรุงเทพมหานครกับจังหวัดชัยนาท ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 6.4 ต่อแสนประชากรในช่วง 10 ปีแรก (พ.ศ. 2520-2529) เป็น 6.7 ต่อแสนประชากรในช่วง 10 ปีหลัง (พ.ศ. 2530-2539) โดยในทศวรรษหลังเพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นกว่าเพศหญิงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเพศชายในช่วงวัย 20-24 ปี (21.7 ต่อแสนประชากรใน พ.ศ. 2539) ส่วนเพศหญิงพบการฆ่าตัวตายสูงในช่วงอายุ 15-19 ปี (6.6 ต่อแสนประชากรใน พ.ศ. 2539) วัยสูงอายุพบการฆ่าตัวตายไม่มาก วิธีการฆ่าตัวตายที่พบบ่อยในเพศชายได้แก่การแขวนคอ ส่วนในเพศหญิงนิยมการใช้วิธีกินสารต่าง ๆ มากกว่า อัตราการฆ่าตัวตายในวัยหนุ่มสาวของจังหวัดชัยนาทสูงกว่ากรุงเทพมหานครมาก ในขณะที่การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุพบไม่มาก สรุป ควรมีการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป เพื่อที่จะได้อธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Keywords: psychiatry, suicide, แนวโน้มการฆ่าตัวตาย, ประเทศไทย, การฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตาย, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย

Code: 100414301247

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 3.70MB