ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จรรจา สุวรรณทัต

ชื่อเรื่อง/Title: ลักษณะของเด็กในครอบครัวไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 43 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2541,252-257

รายละเอียด / Details:

บทความนี้พยายามวิเคราะห์สังเคราะห์การวิจัยสำคัญด้านการอบรมเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทยแต่อดีตจนปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นว่าการอบรมเลี้ยงดูในช่วงอย่างน้อย 3 ทศวรรษที่ผ่านมานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการพัฒนาจิตลักษณะและพฤติกรรมของเด็กบางประการที่สำคัญอย่างไรบ้างในครอบครัวไทย การศึกษาวิจัยในอดีตพบว่า ครอบครัวไทยได้ใช้กรอบคุณธรรมและค่านิยมสำคัญเป็นฐานในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งได้แก่ คุณธรรมแห่งความไม่ก้าวร้าวรุกราน ความกตัญญูรู้คุณ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเคารพผู้อาวุโสและผู้มีอำนาจ และการมีกิริยา มรรยาทที่เหมาะสม แบบการอบรมเลี้ยงดูมีลักษณะอะลุ่มอล่วยในเกือบทุกด้าน แต่จะมีความเข้มงวดในด้านการควบคุมพฤติกรรมที่เกี่ยวกับบทบาททางเพศ ในปัจจุบันความเข้มงวดในพฤติกรรมตามบทบาททางเพศและการมีกิริยามรรยาทที่เหมาะสมลดหย่อนไปมาก ผลการวิจัยระหว่างประเทศที่เป็นการวิจัยระยะยาวชิ้นแรกและชิ้นเดียวของประเทศไทยพบว่าความคาดหวังสำคัญของพ่อแม่ในครอบครัวไทย ซึ่งเป็นตัวกำหนดสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก ได้แก่ การพัฒนาให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นเพียงพอในตนเอง ความสามารถทางภาษา และทักษะการเตรียมตัวทางวิชาการ หากพ่อแม่คาดหวังจากเด็กน้อยมากในเรื่องความสามารถที่จะประเมินตนเอง ซึ่งแท้จริงแล้วความสามารถในเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก และเด็กควรได้รับการพัฒนามาจากครอบครัวควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตลักษณะมุ่งอนาคต การพัฒนาเด็กให้เกิดคุณลักษณะที่สามารถประเมินตนเองได้อย่างเที่ยงตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ในสังคมไทย

Keywords: ครอบครัว, จิตวิทยา, การอบรมเลี้ยงดูเด็ก, ครอบครัวไทย, จิตเวช, จิตเวชเด็ก, จิตเวชศาสตร์, เด็ก, สังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2541

Address: คณะดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรม สภาวิจัยแห่งชาติ

Code: 100414303203

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.28MB