ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

ชื่อเรื่อง/Title: ต้นทุนต่อหน่วยงานบริการสุขภาพจิต โรงพยาบาลนิติจิตเวช

แหล่งที่มา/Source: วารสารกรมการแพทย์, ปีที่ 27, ฉบับที่ 2, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 81-90

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของบริการสุขภาพจิตของโรงพยาบาลนิติจิตเวช ทัศนะของผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลแบบย้อนหลังในปีงบประมาณ 2543 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2543 ใช้แบบบันทึกข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และการจัดสรรแรงงานแบบเต็มเวลาเทียบเท่า (full time equivalent :FTE) โดยแบ่งหน่วยงานของโรงพยาบาล ออกเป็น 3 หน่วยต้นทุน คือหน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-revenue producing cost center NRPCC) หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ (revenue producing cost center RPCC) และหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (patient service PS) จัดสรรต้นทุนจากหน่วยงานต้นทุนชั่วคราว (NRPCC และ RPCC ) ไปยังหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย (PS) โดยวิธี simultaneous equation ตามเกณฑ์การจัดสรรต้นทุนที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวม (FC) ของงานบริการสุขภาพจิตของโรงพยาบาลนิติจิตเวชเท่ากับ 49,727,235.71 บาท โดยมีองค์ประกอบของต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน ร้อยละ 71.62%, 14.58% และ 13.80% rตามลำดับ ส่วนต้นทุนดำเนินการ(OC) มีจำนวน 42,813,100.66 บาทคิดเป็นร้อยละ 76.20% ของต้นทุน FC งานบริการผู้ป่วยในมีปริมาณรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,281 รายหรือ 64,827 วันป่วย โดยมีค่าวันนอนเฉลี่ยเท่ากับ 28-42 วันป่วย/ราย มีค่าของต้นทุน FC ต่อหน่วยเท่ากับ 15,104.03 บาท/ราย หรือ 531.45 บาท/วันป่วย ซึ่งเป็นต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนต่อหน่วยเท่ากับ 11,361.72, 2,800.33 และ 2,125.24 บาท/ราย หรือ 682.51, 133.57 และ 126.24 บาท/วันป่วย ตามลำดับ และมีค่าของต้นทุนOC ต่อหน่วยเท่ากับ 14,162.05 บาท/ราย หรือ 816.08 บาท/วันป่วย ส่วนงานบริการผู้ป่วยนอกมีปริมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน 18,433 ราย มีค่าของต้นทุน FC และ OC ต่อหน่วยเท่ากับ 315.27 และ 270.66 บาท/ครั้ง ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุนต่อหน่วยเท่ากับ 242.76, 22.07 และ 50.44 บาท/ครั้ง ตามลำดับ ส่วนต้นทุน FC และ OC ต่อหน่วยของงานบริการสุขภาพจิตอื่น ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ คืองานสงเคราะห์ 183 และ 163 บาท/ราย งานจิตวิทยา 459 และ 416 บาท/ครั้ง งานทันตกรรม 371 และ 299 บาท/ราย งานคลายเครียด 3,141 และ 2,217 บาท/ราย งานส่งเสริมป้องกัน 27,267 และ 20,260 บาท/โครงการ ผลการศึกษา ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาอัตราการคืนทุน และจุดคุ้มทุน เพื่อผู้บริหารจะได้พิจารณาการบริหารงบประมาณให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

Keywords: ต้นทุนต่อหน่วย, โรงพยาบาลนิติจิตเวช, บริการสุขภาพจิต, จิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช

Code: 0000000041

ISSN/ISBN: 0125-1643

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -